วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นอนป่วยน้ำท่วมไปไหนไม่ได้ เครียดดับคาบ้าน



สถานการณ์น้ำท่วม ใน จ.ปราจีนบุรี ยังไม่คลี่คลาย ล่าสุดสังเวยอีก 2 ศพ นอนป่วยน้ำท่วมออกไปไหนไม่ได้เครียดดับคาบ้าน...

สถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ที่บริเวณชุมชนตลาดเก่ากบินทร์ พบว่าปริมาณน้ำยังคงสูงขึ้น เนื่องจากมีน้ำจากแควพระปรง ทางด้านจังหวัดสระแก้ว ได้ไหลลงมาสมทบกับน้ำในเขตพื้นที่อำเภอนาดี แม้ว่าในช่วงสองวันนี้ จะไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ก็ตาม

โดยชาวบ้านที่อาศัยในเขตพื้นที่น้ำท่วม ได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากปกติในการเดินทางมาใช้เรือพายในการเดินทางเข้าออกจากบ้านพัก เพื่อเดินทางไปทำธุระนอกบ้าน ในพื้นที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี มีอ่างเก็บน้ำคลองฟันปลา หมู่ที่ 16 ตำบลโพธิ์งาม แตกพังทลาย วันที่ 17 สิงหาคม 2554 เนื่องจากปริมาณน้ำป่าจากเขาใหญ่ไหลลงสู่พื้นที่ที่จำนวนมาก ซึ่งในขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหาร จาก พล.ร.2 รอ. ได้นำกำลังพลทำเข้าทำการซ่อมแซมวางกระสอบทราบ เพื่อป้องกันสะพานพังเสียหาย จากปริมาณน้ำในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอประจันตคาม ได้ไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นจนเอ่อล้นตลิ่ง ไหลท่วมถนนด้านหน้าโรงเรียนปราจีนกัลยาณี รวมทั้งร้านอาหารที่ปลูกอยู่สองฝั่งแม่น้ำต้องถูกน้ำท่วมขัง จนต้องปิดร้านค้า

โดยเฉพาะวัดแก้วพิจิตรที่ ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำบางปราจีนบุรี ในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรีห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 242 ซึ่งมีสถาปัตยกรรมภายนอกและการตกแต่งภายในอาคารผสมผสานระหว่างศิลปะไทย จีน ยุโรป และ เขมร อาคาร ที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ที่ฝาผนังด้านนอกมีภาพปูนปั้นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีเสาแบบกรีก ด้านนอกหัวเสาเป็นแบบโครินเธียล น้ำในแม่น้ำปราจีนกำลังไหลเข้าท่วมพื้นที่บริเวณวัดแล้ว



ส่วนทางด้านอำเภอกบินทร์บุรี เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 21 สิงหาคม 54 ร.ต.ท.วิฑูรย์ วงค์ใหญ่ ร้อยเวรสอบสวน สภ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี รับแจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสัจจพุทธธรรมกบินทร์บุรี ว่ามีผู้เสียชีวิตสาเหตุจากจมน้ำ ที่บริเวณสวนยูคาลิปตัส บ้านวังห้าง หมู่ที่ 2 ตำบลนาแขม อำเภอกบินทร์บุรี หลังจากรับแจ้งได้เดินทางไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ พร้อมแพทย์ชันสูตรโรงพยาบาลกบินทร์บุรี ในที่เกิดเหตุต้องเดินลุยน้ำเข้าไปยังที่เกิดเหตุประมาณ 100 เมตร

ตรวจสอบพบศพนายสมจิตร สามเรือง อายุ 53 ปี บ้านเลข 27 หมู่ 2 ตำบลนาแขม อำเภอกบินทร์บุรี สภาพศพจมอยู่ใต้น้ำ พร้อมกับเรืออยู่ในป่ายูคาลิปตัส ที่มีน้ำลึกเกือบ 2 เมตร เจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันงมศพขึ้นมาจากน้ำเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทย์ชันสูตร พบว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง

ส่วนสาเหตุ น่าจะมาจากถูกน้ำพัดตกจากเรือขณะที่ออกเรือหาปลา และถูกกระแสน้ำพัดเรือจมลง ส่วนตัวเองนั้นว่ายน้ำไม่เป็นจึงจมน้ำเสียชีวิตดังกล่าว และ หมู่ที่ 3 ตำบลนาแขม ซึ่งเป็นพื้นที่มีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร ได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตอีกราย คือนายทองดำ ขันดงลิง อายุ 63 ปี ไม่ทราบบ้านเลขที่ ที่ป่วยนอนอยู่กับบ้านที่ถูกน้ำท่วมไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ จนเกิดอาการเครียดและช็อคจนเสียชีวิตไปอีกราย

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นครพนม-สุนัขตายเพิ่ม




สุนัขที่รอดชีวิตจากแก๊งค้าสุนัขตายเพิ่มอีกหลายสิบตัว หัวหน้าด่านกักกันสัตว์นครพนม เผยว่ายังต้องการอาหารสุนัขเพิ่มหลังจากสุนัขฟื้นตัวในอีกสองวันนี้

เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสุขศาสตร์สัตว์ และสุขอนามัยที่ 4 จังหวัดขอนแก่น เดินทางมาช่วยรักษาและฟื้นฟูสุขภาพสุนัขที่ถูกแก๊งค้าสุนัขจับใส่กรงรวมไว้อย่างแออัด ร่วมกับสัตว์แพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม จำนวนกว่า 10 คน ช่วยกันปฐมพยาบาลสุนัขที่ได้รับบาดเจ็บตามสภาพที่พบเห็น โดยหากมีแผลถลอกก็จะฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค เบื้องต้นจะต้องปล่อยให้สุนัขได้ฟื้นตัวสัก 2-3 วัน เสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะฉีดวัคซีน และทำหมันได้

โดยตลอดคืนที่ผ่านมาสุนัขที่บอบช้ำ และส่วนใหญ่บาดเจ็บจากการแก๊งค้าสุนัขจับอัดใส่กรงได้ล้มตายเพิ่มขึ้นนับสิบตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ขุดหลุมขนาดใหญ่เตรียมไว้ทำการกลบฝัง ขณะชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างทยอยนำอาหารมาให้สุนัขคนละเล็กละน้อยตลอดทั้งวัน ขณะที่บางคนมาตามหาสุนัขที่หายออกจากบ้านโดยมีความหวังว่าจะได้พบที่คอกสุนัขแห่งนี้

นายชูศักดิ์ พงษ์พานิช หัวหน้าด่านกักกันสัตว์นครพนม เปิดเผยว่าขณะนี้อาหารสุนัขยังขาดแคลนอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากช่วงนี้เป็นระยะแรก ๆ ที่สุนัขยังไม่สามารถกินอาหารได้มากนักเนื่องจากยังบาดเจ็บและป่วยไข้ ซึ่งหลังจากนี้ 3-4วัน เมื่อสุนัขฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติแล้วจะกินอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่านี้หลายเท่า เกรงว่าอาหารที่เตรียมไว้จะไม่เพียงพอซึ่งได้ประสานไปที่ต้นสังกัดเพื่อขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมแล้ว ขณะเดียวกันก็เปิดรับบริจาคจากชาวบ้านทั่วไปด้วย เกรงว่าเวลาผ่านไปผู้คนจะลืม เพราะสุนัขเหล่านี้จะต้องอยู่ที่นี่ไปอีกนานจนกว่าศาลจะสั่งคดีจนถึงที่สุด

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

'แอฟริกา'วิกฤติ!ร่วมลดโลกร้อน

...ก่อนสัตว์ป่าสูญ ทวีปแอฟริกา เป็นทวีป ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อากาศจึงแห้งแล้ง โดยทวีปนี้แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่ามากมาย แต่ก็ยังคงเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนามากที่สุด รวมถึงการได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจนถึงขั้นวิกฤติ!?! ภาวะโลกร้อนได้ส่งผลให้พื้นที่ต่างๆ ของแอฟริกาที่แห้งแล้งอยู่แล้วมีความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ชุ่มน้ำอยู่แล้ว ก็กลับมีน้ำเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตบ้างสูญพันธุ์บ้างมีอัตราการเกิดน้อยลง วิศิษฏ์ วิชาศิลป์ รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ อธิบายว่า ในรอบ 100 ปี ที่ผ่านมาทวีปแอฟริกาได้รับผลกระทบจากโลกร้อนทำให้ มีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส โดยในหลายพื้น ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และในบางพื้นที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง
3.5 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 20 ปี เท่านั้น เช่น พื้นที่บางส่วนของประเทศเคนยาที่มีพื้นที่แห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและการบริโภค ปัจจุบันแอฟริกากำลังเผชิญกับความแห้งแล้งที่เลวร้ายแทบทั้งทวีป โดยพื้นที่กึ่งแห้งแล้งทางตอนเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออกและหลายส่วนทางใต้ของแอฟริกากำลังเผชิญ ความแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น ขณะที่บริเวณจุดศูนย์สูตรและบางส่วนทางตอนใต้กลับมีน้ำมากขึ้น ประชากรในบริเวณซับซาฮาราอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร ฯลฯ ความสำคัญของทวีปแอฟริกาเดิมทีเคยเป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดกว่าพื้นที่อื่น ๆ มีจำนวนสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดเนื่องจากที่อยู่อาศัยยัง ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ปัจจุบันปริมาณการเกิดของสัตว์ลดน้อยลงเนื่องจากภาวะโลกร้อน และเริ่มมีการรุก ล้ำพื้นที่ป่า เพื่อทำการเกษตร โดยล่าสุดแม้จะมีการค้นพบสัตว์ป่าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลิงไฮแลนด์ แมงกะบี้ (High- land Mangabey) แต่ในขณะเดียวกันก็มีสัตว์ป่าล้มตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์และเหลือน้อยจากผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สัตว์ประเภท แอนทิโลปซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกวางและมีเขาสวยงาม ส่วนสัตว์ประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด โดยลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทำให้วงจรชีวิตของสัตว์เปลี่ยนแปลงไป เช่น สัตว์จำพวกแมลงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่มีกบ เขียด คอยจับกินเป็นอาหาร จึงไปรบ กวนแปลงเกษตรที่ปลูกพืชผักของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีนกอินทรีย์ นกกระจอก เทศที่กินปลาเป็นอาหารต้องขาดแคลนทั้งแหล่งน้ำ และอาหารทำให้ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก เช่นกัน ในอนาคตอีกหลายสิบปีข้างหน้าผลกระทบจากโลกร้อนจะยังคงทวีความรุนแรงขึ้นหากยังไม่มีการอนุรักษ์ หรือรณรงค์จะทำให้สัตว์ใหญ่ทั้งหลายไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยนอกจากสัตว์แล้วตัวมนุษย์เองเป็นด่านแรก ที่จะต้องได้รับผลกระทบต่อชีวิต เนื่องจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอุณหภูมิสูงขึ้นสภาวะแห้งแล้งเลวร้ายลง ทุกทวีป มนุษย์จะถูกคุกคามด้านอาหารจนเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร หากเรายังนิ่งนอนใจไม่ช่วยกันฟื้นฟูดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ชีวิตเพื่อลดปัญหาอุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลงให้มีภาวะสมดุลมากขึ้น ในอนาคตไม่ใช่แค่ทวีปแอฟริกาเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบอันเลวร้ายนี้แต่มนุษย์ทั่วโลกอาจได้รับผลตอบแทนจากการกระทำอย่างทั่วถึงทุกคน.
เนรมิตห้างสู่ดินแดนแอฟริกา ดิเอ็มโพเรียมช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพ มหานครและกลุ่มธุรกิจ Green Alliance Network จัดงานอีเวนต์ด้านสิ่งแวดล้อมปีที่ 3 ภายใต้ชื่อ “Emporium Flora & Fauna Exotica : King of The Jungle อลังการเจ้าป่าซาฟารี” เนรมิตห้าง ดิ เอ็มโพเรียมเป็นดินแดนแอฟริกา สรวงสวรรค์แห่งสัตว์ป่านานาพันธุ์ สัมผัสพันธุ์ไม้หายาก พร้อมร่วมสร้างสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยกันป้องกันรักษาไว้ ศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปจำกัด กล่าวถึงการจัดงาน “Emporium Flora & Fauna Exotica : King of The Jungle อลังการเจ้าป่าซาฟารี” ว่า ถือเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้วโดยบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้จัดขึ้นเพื่อร่วมกันปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้คนไทย โดยงานนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ King of The Jungle อลังการเจ้าป่าซาฟารี เนื่องจากได้เล็งเห็นความสำคัญของทวีปแอฟริกาที่มีปริมาณสัตว์ป่ามากที่สุดในโลก แต่กำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนจนปริมาณสัตว์ลดน้อยลงอย่างชัดเจน ภายในงานได้จัดแสดงสายพันธุ์สัตว์และพืชพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบรรยากาศของป่าซาฟารี เพื่อสร้างกระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน แบ่งเป็นโซนต่าง ๆ 8 โซน ได้แก่ โซนอลังการ เจ้าป่าซาฟารี โซนอัศจรรย์ดอกโพรเทีย โซนเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้เพื่อประหยัด พลังงาน โซนเจิดจรัสความงามแห่งธรรม ชาติ โซนมหัศจรรย์เมียร์แคทโซนตระการตาบ้านทาร์ซานและเหล่าวานร โซนรังสรรค์สวรรค์จินตนาการและโซนเจิดจรัสสวรรค์วิหค ร่วมสัมผัสความมหัศจรรย์และความงดงามของดินแดนแอฟริกาได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 ตุลาคมศกนี้ที่ ดิ เอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์.

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"ปะการังฟอกขาว" ที่สุดแห่งวิกฤตทะเลไทย

"ปะการัง" เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ใต้ทะเลตามซอกตามรูของหินปูนแต่ละก้อนที่สร้างขึ้นมา ภายในเนื้อเยื่อของปะการังก็จะมีสาหร่ายเซลล์เดียวชน ิดหนึ่งอาศัยอยู่ ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้จะเป็นวัตถุที่ช่วยสร้างสีสันให้ก ับปะการังนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ปะการัง อีกด้วย

แต่จากกรณีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยผลสำรวจสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ระบุข้อมูลที่น่าตกใจว่า งานวิจัยเกี่ยวกับปะการังฟอกขาวที่ทำกันมาอย่างต่อเน ื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 พบว่าสภาวะของปะการังฟอกขาวในปี 2553 นี้ เป็นการฟอกขาวที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่งสำหรับท้องทะเลไทย


*ปะการังฟอกขาว ระบาดน่านน้ำไทย

ในปี 2553 นี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)ได้สำรวจสภาวะการฟ อกขาวของปะการังในน่านน้ำไทย ผลปรากฏว่า พบปะการังฟอกขาวที่เกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงผิดปกติ (อุณภูมิปกติประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส) พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2553 เป็นต้นมา และอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นถึง 31 องศา เมื่อต้นเดือนเมษายน (อุณหภูมิที่อาจถือว่าเป็นจุดกระตุ้นให้เกิดการฟอกขา วคือที่ 30.1 องศาเซลเซียส

หากปะการังอยู่ในสภาพที่อุณหภูมิสูงกว่า 30.1 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ จะทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวขึ้น) ซึ่งเริ่มเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน นอกจากในประเทศไทยแล้ว ยังมีการฟอกขาวของปะการังทั่วภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ แถบตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟ ซีเชลส์ พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย


ปะการังสมองกำลังฟอกขาว

จากการสำรวจข้อมูลในประเทศไทย พบว่าแนวปะการังทุกจังหวัดทางฝั่งอันดามัน เกิดการฟอกขาวมากกว่า 70 % ของปะการังมีชีวิตที่มีอยู่ และหลังจาก 1 เดือน ปะการังที่ฟอกขาวเริ่มตาย 5 – 40 เปอร์เซ็นต์ขึ้นกับสถานที่ สำหรับฝั่งอ่าวไทย พบการฟอกขาวรุนแรงเช่นเดียวกับฝั่งอันดามัน โดยบริเวณกลุ่มเกาะตอนบนของจังหวัดชลบุรี (เกาะสีชัง เกาะนก เกาะสาก เกาะครก เกาะจุ่น) พบการฟอกขาวช้ากว่าจุดอื่นๆ

สำหรับในพื้นที่อื่น อาทิ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สำรวจ 8 สถานี พบมีการฟอกขาวบริเวณอ่าวนำชัย ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ สำรวจ 10 สถานี พบฟอกขาวทั้งเกาะสุรินทร์เหนือและใต้ 30 - 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ พบการฟอกขาวบริเวณแหล่งดำน้ำ จ.พังงาและภูเก็ต ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทะเลอ่าวไทย สำรวจที่เกาะช้าง จ.ตราด เกาะเสม็ด จ.ระยอง ทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมชาติ พบการฟอกขาวไม่รุนแรง แต่อุทยานแห่งชาติทางทะเล จ.ชุมพร พบว่ามีการฟอกขาวประมาณ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์

สำหรับอุทยานแห่งชาติในฝั่งอันดามันมีการปิดฤดูกาลท่ องเที่ยวไปแล้ว แต่ในฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด เขาแหลมหญ้า จ.ระยอง และหมู่เกาะช้าง จ.ตราด ที่ยังคงมีการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาปะการ ังฟอกขาวได้


*เอลนีโญ ตัวต้นเหตุ

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. กล่าวว่า กรณีปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นในทะเลอ่าวไทยและอันดาม ันขณะนี้ เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างรู้ว่าดีว่าการเกิดปร ากฏการณ์เอลนีโญในช่วงหลังมานี้มีความสัมพันธ์กับภาว ะโลกร้อนอย่าง ชัดเจน

อีกทั้งยังมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น โดยที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการศึกษาปะการังมากว่า 60-70 ปีแล้ว พบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่รุนแรงเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2541 และปีนี้ พ.ศ. 2553 จะเห็นได้ว่าเมื่อ 30-40 ปีก่อนอาจจะมีปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นบ้างแต่ไม่รุนแรง ทว่าขณะนี้ปรากฏการณ์ที่รุนแรงเกิดถี่มากขึ้น

"ครั้งนี้เป็นครั้งที่โดนในพื้นที่กว้างที่สุด ความรุนแรงก็ไม่เท่ากันแล้วแต่พื้นที่ ถ้าย้อนอดีตทั้งหมดตั้งแต่เราเริ่มทำงานด้านปะการังม าจนถึงตอนนี้ ก่อนหน้าปี 2535 เราแทบไม่เจอปะการังฟอกขาวเลยเจอก็น้อยมาก แต่พอหลังปี 2535 เราเริ่มเจอปะการังฟอกขาวรุนแรงขึ้นและก็ถี่ขึ้น ซึ่งภาวะนี้มันเกี่ยวข้องโดนตรงกับเอลนีโญ"ผศ.ดร.ธรณ ์ กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งยังกล่าวต่ออีกว่า การเกิดปะการังฟอกขาวเป็นเครื่องบ่งบอกว่าภาวะโลกร้อ นเริ่มมีผลรุนแรงต่อธรรมชาติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมันรุนแรงมากในกรณีของปะการังฟอกข าว ผลที่เกิดขึ้นคือปะการังตาย ผลกระทบก็จะต่อเนื่องไปถึงจำนวนปลา เรื่องของการประมง เรื่องของการท่องเที่ยว หรือเรื่องของการกัดเซาะชายฝั่งด้วย

เนื่องจากแนวปะการังเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายที่สุ ดในทะเล พอแนวปะการังสูญเสียไป ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตก็ลดลง เรื่องของแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำที่หากินก็ลดล ง สัตว์น้ำตัวใหญ่อย่าง ปลาเก๋า กุ้งมังกร อาจจะสูญหายไปจากหลายพื้นที่

"การท่องเที่ยวกระทบแน่นอน ไม่มีปะการังแล้วจะไปดำน้ำดูอะไร ปะการังฟอกขาวใช่ว่าจะไม่ตาย พอมันขาวหมดแล้วประมาณสัก 3-6 เดือน ปะการังที่เห็นเป็นโครงขาวๆก็จะป่นพินาศหายไปหมด เสร็จแล้วจะมีสาหร่ายมาขึ้นแทน ก็กลายเป็นแนวหินโสโครก ซึ่งไม่มีใครดำน้ำดูแนวหินโสโครก ตอนแรกที่นักท่องเที่ยวเห็นปะการังฟอกขาวก็จะตื่นเต้ น โอว...ปะการังสีเขียว สีทองเรืองแสง แต่ 3 เดือนจากนี้โครงปะการังจะหักหมด แล้วสาหร่ายจะขึ้นคลุม อาจจะเป็นอีก10 ปีแนวปะการังแถบนั้นจะไม่กลับมาเลย สิ้นสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปเลย 10-20 ปี" ผศ.ดร.ธรณ์ แสดงความวิตกต่อปัญหานี้


หรือสีสันแห่งท้องทะเลจะหายไป

ทางด้าน ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง หัวหน้าหน่วยวิจัยปะการังและสัตว์พื้นทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) กล่าวถึงกรณีเช่นกันว่า ปีนี้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่าทุกปี แดดแรงกว่าทุกปี ครั้งนี้ถือว่าเป็นการฟอกขาวครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าท ี่เราเคยมีมา

เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ ของโลกกระแสน้ำในมหาสมุทรจะมีการเปลี่ยนทิศทาง กระแสน้ำจะไหลไปทิศทางไหนก็ขึ้นอยู่กับลมภูมิอากาศขอ งโลก ลมไปทางไหนจะแรงหรือไม่แรง ปะการังฟอกขาวเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอันหนึ่งจากการท ี่สภาพภูมิอากาศของโลกมันเปลี่ยน อย่างเกาะเต่า เกาะอาดังราวี สถานการณ์ปะการังฟอกขาวปีนี้แย่กว่าปีที่มีสึนามึ ตอนสึนามิแค่ปะการังหักพังฟื้นตัวไม่ยาก แต่ปีนี้ปะการังฟอกขาวไม่แน่ว่าอาจจะมีบางส่วนตายด้ว ยซ้ำ

"ปกติถ้าฟอกขาวตามหลักวิทยาศาสตร์ คือ ปะการังแค่เหวี่ยงสาหร่ายออกไปจากตัวมันเมื่ออุณหภูม ิสูงมากๆ เอาสาหร่ายที่ทำให้ปะการังมีสีสันออกมา ตัวมันเลยเห็นเป็นเนื้อเยื่อใสๆสีขาว คลุมก้อนหินปูนอยู่คล้ายวุ้น เราเลยเห็นใสเป็นสีขาวไปทั่วบริเวณที่มีปะการังฟอกขา ว มันยังไม่ตาย ถ้าเกิดสภาพแวดล้อมเหมาะสมไม่มีมลภาวะอะไรต่างๆซ้ำเต ิมมันก็จะสามารถกลับคืนมาได้

ขณะนี้เราก็ทำได้ในเรื่องของการฟื้นตัว เราก็เก็บข้อมูลเบื้องต้นไปก่อนว่ามีที่ไหนบ้างที่ฟอ กขาว เดือนหน้าเราจะกลับไปติดตามใหม่อีกครั้ง ไปดูว่าฟอกขาวแล้วมันกลับคืนมาไหม หรือว่าตาย ตอนนั้นเราถึงจะประเมินได้เต็มที่ว่ามันจะเสียหายมาก น้อยแค่ไหน"ดร.ศักดิ์ อนันต์ กล่าว

ทั้งนี้ ดร.ศักดิ์อนันต์ ยังได้กล่าวถึง การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกาะเต่า พื้นที่ซึ่งศึกษาผลกระทบมากว่าสองปีว่า สองปีที่ผ่านมา เราวิจัยพบว่ามีปะการังหลายๆจุด ที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว หลายๆจุดไม่มีทุ่นจอดเรือที่เหมาะสม ก็ยังคงพบเห็นการทิ้งสมอเรือในแนวปะการังอยู่ หลายที่ยังพบนักท่องเที่ยวที่ไปดำน้ำตื้นหยียดปะการั ง โดยยังไม่มีกระบวนการจัดการที่เหมาะสม

"จากการศึกษาเรื่องปะการังฟอกขาว มันก็ขึ้นอยู่กับปะการังด้วยว่าเป็นปะการังชนิดไหน ถ้าเป็นปะการังเขากวาง พวกกิ่งก้านทั้งหลายมีแนวโน้มเกิน 50 เปอร์เซนต์ที่มีโอกาสตายสูง เนื่องจากเขากวางเป็นปะการังที่เปราะบางมาก อย่างกลุ่มปะการังก้อน ปะการังสมอง ตอนที่เราเจอเมื่อปี 2541 ปะการังก็กลับคืนมาโดยเฉพาะปะการังก้อนฟื้นคืนมาเกือ บทั้งหมด ตอนนี้สภาพของปะการังฟอกขาว ทำให้คนที่เข้าไปเที่ยวต้องระวัง ไม่สร้างความกระทบเพิ่มเติมแก่ปะการัง เพื่อที่มันจะได้มีโอกาสฟื้นตัวสูง" ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าว


*จุดวิกฤต

เมื่อพูดถึงจุดวิกฤตที่ต้องระมัดระมัดเป็นพิเศษ ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุว่าจุดวิกกฤตที่น่าเป็นห่วงคือ ที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางอื่นอยู่ด้วย เช่น แนวปะการังที่เกาะช้าง เกาะสมุย ซึ่งเป็นเกาะที่มีการพัฒนาค่อนข้างเยอะและรุนแรง มีการตัดถนน ทำรีสอร์ท ทำให้ตะกอนลงทะเล การขยายตัวของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดการควบคุมที่ไม่ ดี สองแห่งนี้น่าเป็นห่วงที่สุด

"อย่างเกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน ผมเชื่อว่าหลังจากปรากฏการณ์นี้ไปธรรมชาติสามารถฟื้น ฟูตัวเองได้ ปะการังฟอกขาวอยู่มาเป็นล้านปี ถ้าฟื้นฟูไม่ได้ก็ตายหมดแล้ว แต่ว่าปัจจุบันมันมีผลกระทบของมนุษย์เข้าไปซ้ำเติมต่ อการฟื้นตัว เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่มีผลกระทบเยอะๆอย่างเกาะสมุย เกาะช้าง ในอดีตเราเรียนรู้มาตั้งแต่ปี 2541 แล้วว่ามันไม่ฟื้น แล้วมาโดนหนนี้ซ้ำ ไอ้ที่มันพอเหลืออยู่บ้าง ก็จะยิ่งไม่ฟื้นหนัก" ผศ.ดร.ธรณ์กล่าวด้วยความเป็นห่วง

ด้านความคิดของดร.ศักดิ์อนันต์ มองว่า จุดที่น่าเป็นห่วง คือ ทะเลฝั่งอ่าวไทย เพราะทางอันดามันลมฝนเริ่มมา คาดว่าน่าฟื้นตัวได้เร็ว การป้องกันที่ดีที่สุด ขณะนี้ต้องไม่สร้างผลกระทบเพิ่มขึ้น พร้อมแนะนำว่าฝั่งอ่าวไทยที่ยังคงเปิดให้นักท่องเที่ ยวเข้าได้นั้นไม่ควรก่อให้เกิดปัญหามลพิษเพิ่มมากขึ้ น ไม่ไปเหยียบปะการังที่กำลังฟอกขาวอยู่

"สิ่งที่อยากเตือนนักท่องเที่ยว ก็คือเรื่องการเหยียบปะการัง การให้อาหาปลา การทิ้งอาหารเหลือลงทะเลเป็นสิ่งที่สร้างแบคทีเรียเพ ิ่มมากขึ้น พอแบคทีเรียมาก ธาตุอาหารมาก มันก็มีพวกแพลนตอนพืช สาหร่าย ยึดครองพื้นที่ทำให้กระทบต่อปะการังอีก" ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าวทิ้งท้าย

โครงการ อนุรักษ์หาดทรายให้ขาวสะอาด

1.ชื่อแผนงาน/โครงการอนุรักษ์หาดทรายให้ขาวสะอาด
- สถานที่ดำเนินการหาดปึกเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
- หน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/10จำนวน18คน
2. หลักการและเหตุผล

สภาพปัญหาของหาดทรายที่สกปรกเต็มไปด้วยขยะที่เกลือนกาดและทำให้หาดทรายมีจำนวนคนนักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวนั้นลดลงไม่มีรายได้เข้าไปปรับปรุงสถานที่ พวกเราจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเราจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหาดทรายปึกเตียนให้กลับมาน่าท่องเที่ยวเช่นเดิม
3. วัตถุประสงค์โครงการ

อยากให้หาดปึกเตียนมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและจะได้เป็นแหล่งดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทำให้ประเทศของเรามีรายได้ในด้านต่างๆเช่นด้านเศรษฐกิจ ด้านคมนาคมเป็นต้นการที่เศรษฐกิจของเราพัฒนาก็จะส่งผลดีให้แก่พวกเรา
4. เป้าหมายโครงการ

( - ) สาเหตุของปัญหา หาดทรายสกปรกเต็มไปด้วยขยะไม่น่าไปท่องเที่ยวหรืออยู่อาศัย เป้าหมาย (+ )ต้องการพัฒนาให้หาดทรายนั้นดีขึ้นมากกว่าเดิมเช่นด้านการท่องเที่ยวเป็นต้น
5. วิธีดำเนินการ
1.จัดตั้งโครงการ
2.หาผู้เข้าร่วมโครงการ
3.ทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมโครงการ
4.ติดต่อสถานที่
5.กำหนดเวลา
6.ร่างโครงการส่งผู้อนุมัติ
7.ดำเนินโครงการ
8.สรุปโครงการส่งอาจารย์ วันที่6สิงหาคมพ.ศ.2554 เป็นเวลา1วัน
7. ทรัพยากรที่ใช้
7.1 ค่าอาหารคนละ50บาท
7.2 ค่ารถไม่เสียค่าใช้จ่าย
7.3 จำนวนคนที่ร่วมโครงการ18คน
8. สถานที่ดำเนินการ

หาดปึกเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
9. ผู้รับผิดชอบ

นางสาวจุฑารัตน์ อิ่มเจริญ ผู้เขียนโครงการ และสมาชิกอีก18คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลข้างเคียง
10.1 ทางบวกจะได้มีคนไปเที่ยวทะเลเพิ่มมากขึ้นทำรายได้ให้กับหาดปึกเตียนสูงขึ้นด้วย
10.2 ทางลบ เกิดการไม่สามัคคีกันในหมู่คณะ
11. การควบคุม/ติดตาม/ประเมินผล(ตัวชี้วัด)


ติดตามดูจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวหาดปึกเตียนว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหรือไม่
12. ผู้เสนอโครงการ นางสาวจุฑารัตน์ อิ่มเจริญ


สรุปโครงการที่ทำ รู้ถึงความสามัคคีในหมู่คณะและโครงการที่ทำมีภาพและวีดีโอมาให้ดูกันสื่อถึงความสามัคคีของพวกเราชาวห้อง10







ดูกันเพลิน ส่วนนี้รูปก็สมาชิกในกลุ่ม





เก็บกันสนกๆๆๆ






ดำกันหมด
กะว่าจะไม่มองมองจนได้

อันนี้คนละกลุ่ม




นี้ก็รูปร่วมค่ะ


จะถ่ายสักหน่อยไรติดก็ไม่รู้





ดำๆๆๆๆๆ




ผู้เข้าร่วมโครงการ



วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จนท.ป่าไม้สกัดนักข่าวทำข่าวตรวจรุกป่าวังน้ำเขียว





เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ สกัดนักข่าวกรณีรองอธิบดีกรมป่าไม้ ผู้รับผิดชอบปฏิบัติการตรวจสอบพื้นที่วังน้ำเขียว หลังอธิบดีกรมป่าไม้สั่งเช็คบิลนายทุนรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ อ้างรองอธิบดีฯไม่ขอให้สัมภาษณ์พร้อมระบุหากนักข่าวยังอยู่จะไม่ยอมลงพื้นที่

(13 ก.ค.54) ที่หน่วยป้องกันรักษาป่านครราชสีมา ที่ 4 (ภูหลวง) ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ เจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) และเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่านครราชสีมา ที่ 4 ประมาณ 50 คน ได้เดินทางไปรอรับคณะของนายเริงชัย ประยูรเวช รองอธิบดีกรมป่าไม้

ที่มีกำหนดการจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมีบรรดาผู้สื่อข่าวจากสำนักต่างๆในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เดินทางไปรอทำข่าวและขอสัมภาษณ์ถึงแนวทางการจัดการปัญหากรณีที่ทางอธิบดีกรมป่าไม้ ได้มอบหมายให้นายเริงชัย ประยูรเวช รองอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นผู้รับผิดชอบในปฏิบัติการตรวจพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว

หลังจากที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาว่ามีกลุ่มนายทุนไปบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเพื่อสร้างเป็นรีสอร์ทที่พัก และให้นายเริงชัยฯ ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ภาพถ่ายและหลักฐานต่างๆในพื้นที่มาสรุปและร่วมวางแผนการดำเนินการจัดระเบียบในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียวภายใน 15 วัน

เจ้าหน้าที่นายหนึ่ง ระบุว่า รองอธิบดีกรมป่าไม้ มีกำหนดเดินทางมาตรวจเยี่ยมที่หน่วยป้องกันรักษาป่านครราชสีมา ที่ 4 ในเวลา 11.00 น. แต่ได้เลื่อนไปกระทันหันเป็นเวลา 15.00 น.

กระทั่งเวลา 15.00 น.ได้มีเจ้าหน้าที่รายหนึ่งแจ้งผู้สื่อข่าวว่า รองอธิบดีได้ติดต่อมาว่าไม่ต้องการที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆในช่วงนี้ เพราะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมีอธิบดีกรมป่าไม้เพียงคนเดียวที่จะให้ข้อมูลได้ จึงขอให้ผู้สื่อข่าวกลับออกไป เนื่องจากหากผู้สื่อข่าวยืนยันว่าจะรอคอยดักสัมภาษณ์รองอธิบดีกรมป่าไม้ ตัวของรองอธิบดีกรมป่าไม้เองก็จะไม่ขอเข้ามาในพื้นที่ แต่ผู้สื่อข่าวยืนยันที่จะขอรอฟังคำปฏิเสธจากปากของรองอธิบดีเอง

เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว เปิดเผยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียวที่มีกระแสข่าวว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบมีอยู่ 3 หน่วยงานหลัก คือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งดูแลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่มีอาณาเขตติดกันอยู่ในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว ส่วนกรมป่าไม้ ดูแลในพื้นที่อนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ
ส่วนสำนักงานปฏิรูปที่ดินทำกินเพื่อการเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก.ดูแลในพื้นที่ป่าสงวนที่เสื่อมโทรมและถูกโอนถ่ายให้ทาง ส.ป.ก.ดูแล

และในขณะนี้การดำเนินการตรวจสอบของทุกหน่วยงานกำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจและจำแนกว่า พื้นที่ที่มีการบุกรุกอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด เพื่อที่จะให้หน่วยงานนั้นๆเป็นผู้ดำเนินการแก้ไข ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า หลังจากรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ก็จะมีการประสานงานร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์วังน้ำเขียวในการแก้ไขปัญหาและสร้างกฏเกณฑ์ขึ้นมาร่วมกันอีกครั้ง โดยอาจจะมีกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นผู้เปิดประเด็นในเรื่องนี้เป็นเจ้าภาพ ซึ่งหากยุทธศาสตร์เรื่องนี้ชัดเจนแล้วก็จะแถลงประชาสัมพันธ์ต่อสื่อมวลชนอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับ พื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 83 หมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 1,230 ตารางกิโลเมตร โดยแยกเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ประมาณ 15 % พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ประมาณ 10 % พื้นที่เขตอนุรักษ์ประมาณ 20 % ส่วนที่เหลืออีก 55 % เป็นที่ดินที่ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( สปก.) และพื้นที่ที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ( พบท.5 ) ทั้งหมด

ปัจจุบันพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว ถูกจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม ที่มีระดับอากาศโอโซนบริสุทธิ์อยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ปัจจุบันสถานที่พักในอำเภอวังน้ำเขียวมีมากกว่า 500 แห่ง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้วันละประมาณ 25,000 คน ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 2 ตำบล คือ ตำบลวังน้ำเขียว และ ต.ไทยสามัคคี

เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงามและมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจำนวนมาก โดยในช่วงฤดูหนาวจะถูกนักท่องเที่ยวจองสถานที่พักเต็มยาวไปจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาท

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฟื้น"ไม้หมายเมือง" เชียงใหม่ ปลูกสำนึกรักถิ่น

ใน จ.เชียงใหม่ ต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า 'ไม้หมายถิ่น, ไม้หมายทาง' มีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีจำนวนลดลงและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง จากข้อมูลของมูลนิธิไทยรักษ์ป่าทำให้รู้ว่า ไม้หมายถิ่นในที่สาธารณะ ต้นไม้ใหญ่ๆ ไม้ที่เติบโตมาพร้อมกับประวัติศาสตร์เมืองเหนือแห่งนี้จะถูกตัดโค่นแหลกราญ จากการขยายตัวของสังคมเมือง การตัดขยายถนน และการปรับภูมิทัศน์
แต่ในช่วง 5 ปีหลัง คนเชียงใหม่ต่อต้านการตัดต้นไม้หมายถิ่น ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม พร้อมกับช่วยกันปลูกพรรณไม้ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งก็สร้างความร่มรื่นให้เมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวดูดซับก๊าซคาร์บอน กรองฝุ่น ควันพิษ และลดภาวะโลกร้อน ยิ่งไปกว่านั้นต้นไม้สองข้างทางยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ร้อยรัดกับชุมชนเอาไว้
ในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายนที่ผ่านมา มูลนิธิไทยรักษ์ป่า ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานโดย เอ็กโก กรุ๊ป ร่วมกับกรมทางหลวงชนบท และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จัด "โครงการอนุรักษ์ไม้หมายเมือง" ปีที่ 4 ณ แยกเชียงขางแสงงาม ต.ท่าศาลา อ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อปลุกกระแสอนุรักษ์ไม้หมายถิ่น วิธีการ คือ ให้คนเมืองปลูกต้นไม้หมายถิ่นกับมือ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนรู้จักต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ไม่ทำลายและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไปในตัว ถือเป็นกิจกรรมปลุกสำนึกรับวันสิ่งแวดล้อม โดยมี พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ประธานอำนวยการมูลนิธิไทยรักษ์ป่า และ ดร.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน เยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดขึ้น พร้อมปลูกต้นราชพฤกษ์ ไม้มงคลสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และทองกวาว พันธุ์ไม้พระราชทานเป็นมงคล จ.เชียงใหม่
สำหรับต้นไม้ที่ปลูกคราวนี้ เป็นไม้หมายถิ่นและต้นไม้มงคล 5 ชนิด จำนวน 100 ต้น ประกอบด้วย ราชพฤกษ์ ทองกวาว โดยเฉพาะสารภีป่า ไม้หมายถิ่นของ อ.สารภี ไม้มงคลที่มีอายุยืนนาน กระพี้จั่น ไม้ป่าที่มีดอกสวยงาม จัดเป็นไม้หมายถิ่นของชุมชนดอนจั่น และรวงผึ้ง ไม้หมายถิ่นชุมชนหนองผึ้ง โดยมีชุมชนใกล้เคียง หน่วยงานราชการ เยาวชนคนรุ่นใหม่ และภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมกิจกรรม ก่อนหน้านี้เคยปลูกต้นพะยอมที่สี่แยกตลาดต้นพะยอม และวัดสวนดอก รวมถึงปลูกไม้แดงและไม้ในพุทธประวัติบริเวณวัดป่าแดงมหาวิหาร
กุล ปัญญาวงค์ ผู้จัดการมูลนิธิไทยรักษ์ป่า กล่าวว่า โครงการไม้หมายเมืองเป็นการปลูกต้นไม้สร้างสิ่งแวดล้อมเมืองที่หายไป เดิมไม้หมายถิ่น ไม้หมายทางขึ้นอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ จะบ่งบอกถึงที่ตั้งของเมืองตามลักษณะภูมิประเทศที่พันธุ์ไม้นั้นขึ้นอยู่เป็นลักษณะเด่น อย่าง ห้วยตึงเฒ่า มีไม้ตุงเป็นไม้หมายเมือง คนโบราณตั้งชื่อตามต้นตึง ไม้ประจำท้องถิ่น รวมถึงเป็นจุดหมายตาคนโบราณ ใช้สังเกตเส้นทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมือง เช่น เส้นจาก ต.สันผีเสือ มายังสะพานสันป่าข่อยใต้ สองข้างทางมีต้นผีเสื้อ ต้นข่อย เป็นไม้หมายทาง แต่ในช่วงหลังจะถูกตัดโค่นออกไปจากการขยายถนนและพัฒนาเมือง ก็พยายามรื้อฟื้นและปลูกใหม่ ปีนี้ปลูกบริเวณแยกเชียงแสนงาม พื้นที่รอยต่อ อ.เมืองเชียงใหม่ และ อ.สารภี จ.ลำพูน เดิมบริเวณนี้ใกล้ชุมชนดอนจั่น มีกระพี้จั่น หรือปี้จั่น เป็นไม้หมายถิ่น ขึ้นเป็นลักษณะเด่น ปัจจุบันไม่เหลือกระพี้จั่นแม้แต่ต้นเดียว จึงปลูกกระพี้จั่นขึ้นใหม่ และปลูกสารภีด้วย เพราะเส้นทางนี้เชื่อมต่อ อ.สารภี ซึ่งมีต้นสารภีเป็นไม้มงคลไม้หมายถิ่น ชื่ออำเภอก็ตั้งตามชื่อต้นไม้ที่ขึ้น แต่สมัยก่อน อ.สารภี มีชื่อเดิม คือ 'ยางเนิ้ง' ก็มาจากต้นยาง ปลูกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วก็ปลูกทองกวาวด้วยเพื่อจะได้มีสีสันข้างทาง เวลาออกดอกเป็นช่อสีแดงส้ม
"การปลูกไม้หมายถิ่นเป็นวิธีกระตุ้นให้คนเมืองเห็นคุณค่าต้นไม้เก่าแก่ ไม้หมายถิ่นที่ยังมีอยู่ ส่วนที่เคยตัดไปแล้วก็รื้อฟื้นปลูกใหม่ ต้นไม้ที่หายไปจะกลับคืนมา ถ้าคนในพื้นที่เห็นต้นไม้ที่เคยอาศัยร่มเงาและต้นไม้ที่ปลูกมากับมือ ปลูกในที่สาธารณะ มีคนตัดเพื่อขยายถนน ขยายเมือง จะตื่นตัวมากขึ้น" กุลยืนยัน
ด้าน สมโชติ อ๋องสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกเล่าถึงไม้หมายเมืองในแง่มุมประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจให้ฟังว่า แต่ละเมืองมีต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ มีความเชื่อว่ามีเทวดาอารักษ์ต้นไม้นั้น ทำให้แตกต่างจากต้นไม้ทั่วไป ส่วนความผูกพันไม้หมายเมืองกับคนเมืองมีพิธีกรรมบูชาในแต่ละปี เช่น กลางเวียงเชียงใหม่ก็มีต้นยาง ซึ่งมีพิธีบูชาในงานสืบชะตาเมืองเป็นประจำทุกปี หากต้นไม้ที่มีความเชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องจะมีคุณค่าขึ้น เห็นได้จากต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่คนตัดน้อย เพราะมีความสำคัญทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ฉะนั้น ปลูกต้นไม้อย่างเดียวได้แค่ธรรมชาติ ต้องปลูกวัฒนธรรมในใจคนด้วย
"ต้นไม้เมืองเหนือมีกว่า 880 พันธุ์ ทั้งไม้ต้น ไม้ดอก ถ้าสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมการชื่นชมจะเกิดประโยชน์อีกมาก อย่างเส้นทางโบราณเชียงใหม่-ลำพูน มีต้นยางตลอดสองข้างทาง คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเป็นเส้นทางพระธาตุเสด็จจากสุโขทัยไปยังลำพูนและเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังปลูกสมัยรัชกาลที่ 5 ต้นยางจึงเป็นไม้หมายเมืองลำพูน นำมาสู่การใช้สอยในอดีตเป็นแหล่งน้ำมันยาง ล้วนเกี่ยวข้องวิถีวัฒนธรรม น่าเสียดายความรู้เหล่านี้ไม่อยู่ในระบบโรงเรียน ทำให้ขาดตอน ครูเน้นศัพท์วิทยาศาสตร์ ลักษณะต้น พืชใบ ตอนนี้ 800 กว่าพันธุ์ เรามีความรู้น้อยมาก" นักวิชาการประวัติศาสตร์เน้นย้ำ
สำหรับการอนุรักษ์ไม้หมายเมือง อาจารย์สมโชติเห็นว่า นอกจากชาวบ้าน ชุมชน ที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้แล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเห็นคุณค่าของไม้ท้องถิ่นที่กำลังจะหมดไป พยายามฟื้นไม้หมายถิ่นตามหมู่บ้านให้มากที่สุด อย่าง บ้านดอนปิน บ้านพะยอม กาดพะยอม บ้านกว๋าว บ้านขี้เหล็กหลวง บ้านเสี้ยว บางพื้นที่ยังมีร่องรอยของไม้หมายถิ่นหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ จะเป็นวัดที่มีต้นไม้ใหญ่และไม้หมายถิ่นอยู่มาก แต่ถ้าไม่เชื่อมไปถึงความเชื่อและความสำคัญ ก็น่าวิตกจะถูกเปลี่ยนสภาพ ถือเป็นปราการด่านสุดท้ายของไม้สำคัญ เพราะตามบ้านถูกตัดทำลายหมดแล้ว เวลานี้ตนก็ช่วยเสริมเรื่องราวประวัติศาสตร์ของต้นไม้เมืองเชียงใหม่ผ่านกิจกรรมขี่จักรยานโดยเครือข่ายจักรยานเชียงใหม่ จัดสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เพื่อสร้างวัฒนธรรมการชื่นชมต้นไม้ พะยอมออกดอกเดือนกุมภาฯ เวลาออกดอกหอมมาก ช่วงนี้อินทนิลออกดอกสีม่วงและหางนกยูงสีส้มกำลังบานสะพรั่งทั่วเมือง ก็ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และเห็นความสวยงามของต้นไม้
งานอนุรักษ์ไม้หมายเมืองนั้นเป็นโครงการหนึ่งที่มูลนิธิไทยรักษ์ป่าดำเนินการในเขตเมืองเชียงใหม่ แต่การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร หรือ 'ป่าเมฆ' ก็เป็นอีกงานหนักเช่นกัน กุล ผู้จัดการมูลนิธิคนเดิมระบุทุกวันนี้ป่าเมฆบนยอดดอยอินทนนท์กำลังเสื่อมโทรม ประสบปัญหาจากภาวะโลกร้อน สถานภาพสัตว์ป่าดอยอินทนนท์ก็น่าวิตก นกกินปลีหางยาวเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ อาจจะสูญพันธุ์ได้ รวมถึงสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อย่าง ปาดดอยอินทนนท์ อึ่งกรายดอยอินทนนท์ ปาดตีนเหลืองเหนือ ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็ตายได้
นอกจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ยังมีการขยายพื้นที่ทำกินของชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อย่างบ้านสันดินแดง เป็นหมู่บ้านปกากะญออยู่ใจกลางป่า ทางมูลนิธิฯ ก็ประสานการอนุรักษ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับชุมชน มีการกำหนดแนวเขตชัดเจนเพื่อลดการเปิดป่า แล้วก็ลดความหวาดระแวงที่มีต่อกัน สนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวบ้านลดใช้สารเคมีเข้มข้น เพราะนี่คือป่าต้นน้ำลำธาร มีการใช้พลังงานจากต้นน้ำ จะทำเป็นหมู่บ้านต้นแบบเพื่อขยายผลในลุ่มน้ำแม่ยะ-แม่ปอน ที่มี 22 หมู่บ้าน ส่วนหมู่บ้านชายขอบป่าก็หนุนงานอนุรักษ์ด้วยเพื่อเป็นกำแพงไม่ให้บุกรุกป่าต้นน้ำ
ผู้จัดการมูลนิธิไทยรักษ์ป่ายังฝากการบ้านสำหรับนักการเมืองที่อาสาจะเข้ามาเป็นรัฐบาลให้เตรียมวางแผนรับมือภัยพิบัติธรรมชาติขนาดใหญ่ให้พร้อม เพราะผลกระทบจากธรรมชาติวิปริตมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อย่างพายุถล่ม ฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินถล่ม มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุดเวลา อย่าง จ.เชียงใหม่ บางพื้นที่ใน อ.แม่แจ่ม ไม่เคยเกิดดินสไลด์ก็เกิดแล้ว ต้องกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ อยากเห็นนโยบายรักษาพื้นที่ป่าไม้และป้องกันการทำลายป่าอย่างมีประสิทธิภาพ ยึดหลัก 'คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้' แล้วก็ควรระมัดระวังนโยบายที่เร่งรัดการขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยไม่วางแผนรอบรับรัดกุม เช่น การขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่ม การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ฯลฯ ต้นเหตุดินสไลด์ เหตุการณ์ดินถล่มภาคใต้เป็นกรณีศึกษาที่ดี ไม่ควรประมาท.

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เส้นตาย12ส.ค.สอบรีสอร์ท-บ้านหรูวังน้ำเขียวรุกที่ป่า



กรมป่าไม้ขีดเส้นตายบ้านพักและ รีสอร์ทหรูกว่า 20 แห่งในวังน้ำเขียวต้องเสร็จก่อนวันที่ 12 ส.ค.จากนั้นวันที่ 13 ส.ค.เดินหน้าแจ้งความดำเนินคดี ด้านเอ็นจีโอแฉมีมากกว่า 20 แห่ง มีนักการเมืองระดับชาติเป็นนายหน้าขายให้กลุ่มธุรกิจ ราคาสูงถึงไร่ละ 2 ล้าน...

จากกรณีบ้านพักและรีสอร์ทหรูในพื้นที่วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มีนายทุนและผู้มีอิทธิพลบุกรุกเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ภูหลวง ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่กรมป่าไม้ นายสุเทพ ปวเรศวิทยาฬาร ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) เข้าพบนายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเอกสารหลักฐานการรุกพื้นที่ป่าสงวนในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มอบให้ นายสุวิทย์

นายสุวิทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่นำมานี้ เพื่อมาพิสูจน์เชิงวิชาการ โดยมาเปรียบเทียบกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของกรมป่าไม้ว่า บ้านพัก และรีสอร์ท กว่า 20 แห่ง บริเวณวังน้ำเขียว รุกพื้นที่ป่าสงวนหรือไม่ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ต่างตื่นตัว ว่ากรมป่าไม้จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อครหาว่าทำไมกรมป่าไม้ จึงปล่อยให้มีการสร้างบ้านพัก พื้นที่ป่าสงวน หรือไปอยู่บนเชิงเขาซึ่งไม่เหมาะสมและผิดกฎหมาย ขณะเดียวกัน หลายฝ่ายก็มาตั้งคำถามแบบกรมป่าไม้เช่นกันว่า การที่กรมป่าไม้มาจัดระเบียบบ้านพัก รีสอร์ท และจะดำเนินการตามกฎหมายมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ ทำไมต้องมาดำเนินการในช่วงที่มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจรัฐบาลเก่าไปสู่รัฐบาลใหม่

"เรื่องการตรวจสอบบ้านพักและรีสอร์ทในพื้นที่วังน้ำเขียวขอแจ้งว่า ไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ ทุกอย่างทำด้วยความโปร่งใส บ้านและรีสอร์ทกว่า 20 แห่ง ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่ารุกพื้นที่ป่าสงวน ต่างถูกร้องเรียนมาที่กรมป่าไม้ โดยส่งข้อความและภาพถ่ายมาทางอีเมล์จำนวนมากก่อนหน้านี้แล้ว กรมป่าไม้จึงต้องเร่งดำเนินการ หากไม่ทำ จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่" นายสุวิทย์ กล่าว

ทั้งนี้ กระบวนการพิสูจน์ว่า บ้านพักและรีสอร์ททั้ง 20 แห่ง ถูกหรือผิดกฎหมาย จะดำเนินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 12 ส.ค.นี้ จากนั้นวันที่ 13 ส.ค. ก็จะลงพื้นที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับทุกหลังที่รุกพื้นที่ป่าสงวน หรือหากรุกที่ ส.ป.ก.ก็ต้องไปพิสูจน์ว่าได้พื้นที่มาได้อย่างไร เพราะแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน บริเวณที่ตั้งของบ้านพักและรีสอร์ท เหล่านั้นเป็นพื้นที่ป่า แล้วเหตุใดจึงออกเอกสารสิทธิ์ได้ ผู้ที่ออกเอกสารสิทธิ์ให้ก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะทำผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน

ด้าน นายเริงชัย ประยูรเวช รองอธิบดีกรมป่าไม้ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมในการตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในเขต อ.วังน้ำเขียว คาดว่าจะลงพื้นที่เพื่อดำเนินการได้ประมาณสัปดาห์หน้า แต่ก่อนอื่นจะต้องวางแผนในสำนักงาน โดยเอาแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศออกมากางตรวจสอบกันก่อนว่า พื้นที่ป่าสงวนบริเวณไหน เป็นอย่างไร มีสิทธิประโยชน์อย่างไรบ้าง ตรวจสอบเสร็จวันไหน หากพื้นที่ใดพิสูจน์ได้ว่าครอบครองแบบผิดกฎหมายก็จะตั้งแถวลงปฏิบัติการยึดพื้นที่คืนทันที

ขณะที่นายตะวัน ศรีกานิล เครือข่ายผู้รักษ์เขาใหญ่ กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่วังน้ำเขียวมีการเคลื่อนไหวกันมาก โดยเฉพาะหน่วยงาน ส.ป.ก.หลังจากที่กรมป่าไม้จะเข้าไปดำเนินการกับบ้านพักและรีสอร์ทที่บุกรุกเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งน่าจะมีมากว่า 20 แห่ง เพราะสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ขณะนี้ตั้งแต่ ต.ระเริง อ.วังน้ำเขียว ที่เป็นข่าวอยู่ ขณะนี้ หรือตั้งแต่บ้านโป่งตาลองหรือหลักกิโลเมตรที่ 23 ถึง 79 ถนนวังน้ำเขียว-เขาแผงม้า-ปากช่อง มีกลุ่มนายทุน นักธุรกิจ นักการเมือง เข้าไปจับจองพื้นที่กันจำนวนมากและแทบจะทุกรายผิดกฎหมายเพราะรุกป่าสงวนทั้งสิ้น มีราคาซื้อขายกันแพงมากตกไร่ละ 2 ล้านบาท และพื้นที่ยิ่งอยู่สูงยิ่งแพง มีนักการเมืองระดับชาติ ทำหน้าที่ซื้อขายที่ดินให้กับกลุ่มธุรกิจการเมือง ทั้งนี้ ในวันที่ 16 ก.ค.นี้ นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาจะมาหารือกับเครือข่ายผู้รักษ์เขาใหญ่ โดยมีตน นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ศิลปิน นายโชคชัย ปรโลกานนท์ กลุ่มรักษ์เขาแผงม้า เป็นตัวแทนถึงปัญหาการบุกรุกพื้นที่ดังกล่าว

ทรัพยากรดิน


ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน

ประโยชน์ของดิน
ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ
1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%
2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย
4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี

ชนิดของดิน
อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน

1. ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
2. ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
3. ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า
สีของดิน สีของดินจะทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ปริมาณอินทรียวัตถุที่ปะปนอยู่และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน ทำให้สีของดินต่างกันถ้ามีฮิวมัสน้อยสีจะจางลงมีความอุดมสมบูรณ์น้อย


ลักษณะโครงสร้างที่ดีของดิน ได้แก่ สภาพที่เม็ดดินเกาะกันเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่รวมกันอย่างหลวม ๆ ตลอดชั้นของหน้าดิน





ปัญหาทรัพยากรดิน
ดินส่วนใหญ่ถูกทำลายให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ หรือตัวเนื้อดินไปเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และการสูญเสียตามธรรมชาติทำให้เราไม่อาจใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การสูญเสียดินเกิดได้จาก
1. การกัดเซาะและพังทลายโดยน้ำ น้ำจำนวนมากที่กระทบผิวดินโดยตรงจะกัดเซาะผิวดิน ให้หลุดลอยไปตามน้ำ การสูญเสียบริเวณผิวดินจะเป็นพื้นที่กว้าง หรือถูกกัดเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความแรง และบริเวณของน้ำที่ไหลบ่าลงมาก
2. การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า ถางป่าทำให้หน้าดินเปิด และถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำและลมเมื่อฝนตกลงมา น้ำก็ชะล้างเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปกับน้ำ ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลง
3. การเพาะปลูกและเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี การเตรียมที่ดินทำการเพาะปลูกนั้นถ้าไม่ถูกวิธีก็จะก่อความเสียหายกับดินได้มากตัวอย่างเช่น การไถพรวนขณะดินแห้งทำให้หน้าดินที่สมบูรณ์หลุดลอยไปกับลมได้ หรือการปลูกพืชบางชนิดจะทำให้ดินเสื่อมเร็ว การเผาป่าไม้ หรือตอข้าวในนา จะทำให้ฮิวมัสในดินเสื่อมสลายเกิดผลเสียกับดินมาก


ดินที่เป็นกรด เกษตรกรแก้ไขได้โดยการใช้ปูนขาวหว่าน และไถพรวนให้เข้ากับดิน





การอนุรักษ์ดิน
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดินเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน ต้องขุดลอกใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้ดินพังทลายหรือเสื่อมโทรมซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการอนุรักษ์ดิน
1. การใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกพืชควรต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน การปลูกพืชและการไถพรวนตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน นอกจากนี้ควรจะสงวนรักษาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ใช้ในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย เพราะที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมในการเพาะปลูกมีอยู่จำนวนน้อย
2. การปรับปรุงบำรุงดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก การปลูกพืชตะกูลถั่ว การใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด การแก้ไขพื้นที่ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดิน เป็นต้น
3. การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชบังลม การไถพรวนตามแนวระดับ การทำคันดินป้องกันการไหลชะล้างหน้าดิน รวมทั้งการไม่เผาป่าหรือการทำไร่เลื่อนลอย
4. การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออกการจัดส่งเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ช้างตรังป่วยเพราะอากาศแล้ง


สัตวแพทย์ร.พ.ช้างลำปาง รุดดูอาการป่วยของช้างที่จ.ตรัง จำนวน 5 เชือก เนื่องจากป่วยเพราะอากาศแล้ง…

เมื่อเวลา 14.00 น. 17 มี.ค.53 นายปองพล หอมคง นายสัตวแพทย์ร.พ.ช้างลำปาง สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมด้วยนายวัฒนพล พลอยมีค่า สัตวแพทย์สำนักงานปศุสัตว์จ.ตรัง เดินทางไปยังพื้นที่ ม.2 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง เพื่อดูอาการของช้าง จำนวน 4 เชือก ที่ถูกนำไปชักลากไม้ในพื้นที่มาเป็นเวลานานหลายเดือนแล้ว ประกอบกับช่วงนี้มีอากาศร้อน ทำให้ช้างป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ

เมื่อเดินทางไปถึง บรรดาควาญช้างได้นำพลายสันติ อายุ 22 ปี น้ำหนัก 3 ตัน เป็นของนายสมโชค ชูบาล ชาวบ้านในพื้นที่อ.หาดสำราญ ที่ได้มารับจ้างชักลากไม้ในพื้นที่ โดยพลายสันติ ป่วยเป็นโรคพยาธิผิวหนัง ทางสัตวแพทย์จึงได้ฉีดยาถ่ายพยาธิให้จำนวน 1 เข็ม ช้างเชือกที่สองคือ พลายแสนดี อายุ 13 ปี น้ำหนัก 2.2 ตัน เป็นของนายธวัช ไหมสวัสดิ์ อายุ 43 ปี โดยพลายแสนดีมีอาการดีขึ้นตามลำดับ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เนื่องจากอากาศร้อน และมีการฉีดยาบำรุงร่างกายพร้อมกับให้วิตามินไปก่อนหน้านี้

ส่วนช้างเชือกที่สามและสี่คือ พังกอบแก้ว อายุ 60 ปี น้ำหนัก 3.2 ตัน และพังเพชร อายุ 38 ปี น้ำหนัก 2.5 ตัน เป็นของนายเพิ่ม เพ็งผอม อายุ 73 ปี สำหรับพังกอบแก้วนั้นได้หยุดลากชักลากไม้มาเป็นเวลาหลายวันแล้ว เนื่องจากที่บริเวณเท้าหน้าด้านซ้าย ถูกไม้แทงจนบวมและเริ่มเป็นหนอง ทำให้ไม่สามารถเดินไปมาได้สะดวกนัก นายปองพลจึงฉีดยาแก้อักเสบให้ 1 เข็ม พร้อมกับยาทำแผล และสั่งพักงานพังกอบแก้วเป็นเวลาหนึ่งเดือน เพื่อให้แผลหายสนิท ส่วนพังเพชร หลังจากที่เกิดอาการขาหลังสองข้างบวมเป็นแผลเนื่องจากชักลากไม้ ก็มีอาการดีขึ้น หลังจากพักงานมาเป็นเวลา 2 เดือน

ทั้งนี้ ช้างเชือกสุดท้ายที่ทีมสัตวแพทย์ไปดูอาการที่บริเวณน้ำตกโตนคลาน ในพื้นที่อ.ห้วยยอด ก็คือ พลายงาดี อายุ 46 ปี น้ำหนัก 3.5 ตัน ซึ่งเป็นของนายวินัย ราชแสง อายุ 44 ปี พบว่าในขณะนี้พลายงาดีมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่กินอาหาร มีอาการตัวบวม ขาไม่มีแรง โดยทางสัตวแพทย์ได้ให้ยาบำรุงแก่พลายงาดีเพิ่มเติม

นายสัตวแพทย์ร.พ.ช้างลำปาง กล่าวว่า ช้างที่อยู่ในภาคใต้ เป็นช้างที่ต้องใช้แรงงานในการลากไม้ช่วงหน้าแล้ง ควาญช้างก็ควรจะดูแลช้างเป็นพิเศษ และลดงานลากไม้ให้น้อยลง เพื่อให้ช้างได้พักผ่อนบ้าง ที่สำคัญควาญช้างต้องเข้าใจ และรู้นิสัยช้างที่ตนเลี้ยงว่าเป็นอย่างไร ในช่วงหน้าแล้งก็ไม่ควรให้ช้างขาดน้ำ เพราะอาจจะทำให้ช้างป่วย หรือเกิดอาการหงุดหงิดได้ง่าย

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผู้ว่าฯพิษณุโลกลงพื้นที่ บุกจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า


วันที่ 01 กรกฎาคม 2553 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกลงพื้นที่ ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย หลังได้รับรายงานจากชุดเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าของอำเภอนครไทยและอำเภอชาติตระการ บุกจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าได้พร้อมของกลางเป็นไม้มะค่าโมง อายุกว่า 100 ปี

เช้าวันนี้ ( 1 ก.ค. 53 ) นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ลงพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง ม.26 บ้านโป่งดินดำ ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลกหลังได้รับรายงานจากชุดเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าของอำเภอนครไทยและอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ว่าได้นำเจ้าหน้าที่บุกเข้าจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าได้พร้อมของกลางเป็นไม้มะค่าโมง อายุ 100 ปี ที่ถูกตัดทอนเป็นท่อน ๆ ความยาวท่อนละประมาณ 3 เมตร จำนวน 4 ท่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เมตร พร้อมผู้ต้องหาจำนวน 4 คน

ในที่เกิดเหตุพบ ล่องลอยการโค่นต้นมะค่าโมงอยู่บริเวณเชิงเขา อยู่ห่างจากกองไม้ประมาณ 30 เมตร เป็นตอไม้มะค่าโมง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร คาดว่าอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี และพบรถยนต์ของกลาง 2 คัน เป็นรถชักลากไม้ยี่ห้ออีซูซุ สีส้ม ทะเบียน 80-2950 พิษณุโลก และรถยนต์ชักลากไม้ อีซูซุ สีเทา ไม่ติดแผ่นป้ายทะเทียน นอกจากนี้ ยังพบรถตราโล่ ยี่ห้ออีซูซุ ทะเบียน ชผ 4112 ของสภ.นครไทย จอดอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย พบเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนาย คือพ.ต.ท.วิชาญ ( ภพณครินทร์ ชื่อใหม่ ) ปานทอง รองผกก( ปป.).สภ.นครไทย ภ.จว.พิษณุโลก ที่มาพร้อมกับดต.พร ก๊กพงษ์ ตำรวจสภ.นครไทย บริเวณกระบะรถตราโล่พบเลื่อยยนต์ยี่ห้อสติน 1 ตัว เครื่องเจียร์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นเลื่อยไฟฟ้าอีก 1 ชุด เครื่องปั่นไฟ 1 ชุด แกลลอนน้ำมัน

สำหรับผู้ต้องหาที่จับกุมได้ในที่เกิดเหตุ สามารถจับกุมได้ 4 คน ประกอบด้วย 1.นายทรัพย์ แสงสี อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 23 ม.3 ต.บ้านพร้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 2.นายชม ขุนขำ อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 185 ม.3 ต.บ้านพร้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 3.นายสมควร พิณเพชร อายุ 51 ปี ม.1 ต.นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 4.นายแฉล้ม ปั้นคุ้ย อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 208 ม.3 ต.บ้านพร้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก และหลบหนีการจับกุมไป 2 คน ทราบชื่อ นายประยูร อันทะปัญญา อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 331 ม.1 ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก และนายบุญชู จันทร์วิสุทธิ์ อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 128 ม.17 ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

การจับกุมกระบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าครั้งนี้ ชุดเฉพาะกิจฯได้สืบทราบจากสายข่าวว่า มีนายทุนจากต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เข้ามาในพื้นที่ม.26 บ้านโป่งดินดำ ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย และมาลักลอบตัดต้นมะค่าโมงยักษ์ ที่ต้นใหญ่ที่สุดในพื้นที่นี้ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง เวลาประมาณ 02.00น.ของวันที่ 1 กรกฏาคม 2553 นายบุญเลิศ แก้วสะแสน ปลัดอำเภอชาติตระการ นายสุธี ชำนาญกิจ ปลัดอำเภอชาติตระการ นำอส.มาซุ่มจับแก๊งค์มอดไม้ บริเวณแยกหนองน้ำปอ ม.1 ต.ท่าสะแก อ.ชาติตระการ พบว่า มีรถบรรทุก 6 ล้อ อีซูซุสีขาว ขับออกมาจากบ้านโป่งดินดำ ด้านหลังบรรทุกไม้มะค่าโมง 3 ท่อน ความยาวประมาณ 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร จึงทำการจับกุม ได้ผู้ต้องหา 2 ราย คือ นายชัยนิวัฒน์ จันทร์มีเทพ อายุ 25 ปี อยู่บ้านเลขที่ 100 ม.11 ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ( คนขับรถ ) และนายทองใหม่ อันทะปัญญา อายุ 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 331 ม.11 ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ทั้งสองรับว่า มาขนไม้ทะค่าโมง จากบ้านโป่งดินดำ เป็นไม้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่ง จะนำไปส่งที่ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

ต่อมาเวลา 03.00 น.วันเดียวกัน นายเบญจรงค์ บุศรา ปลัดอำเภอนครไทย นายปรีชา แพร่โกสุมปรีชา เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาณงาน ชุดเฉพาะกิจโครงการป้องกันรักษาป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อย นำอส.และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และฝ่ายทหาร และฝ่ายความมั่นคง เดินป่าเข้ามายังจุดลักลอบตัดไม้ พบว่า คนงานตัดไม้ กำลังใช้รถลากไม้ดึงไม้มะค่าโมงที่ตัดเป็นท่อน ๆ จึงเข้าทำการตรวจค้นและจับกุม ได้ผู้ต้องหา 4 คน หลบหนีไป 2 คน และยังพบว่า จุดเกิดเหตุ มีรถตำรวจตราโลห์ จอดอยู่พร้อมเลื่อยยนต์ด้วย โดยพบพ.ต.ท.วิชาญ ปานทอง รองผกก.สภ.นครไทย และดต.พร ก๊กพงษ์ ตำรวจสภ.นครไทย ทั้งสองอ้างว่า เข้ามาจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ขณะที่แนวทางการสืบสวนชุดจับกุมนั้น เนื่องจากผู้ต้องหาที่ขนไม้ออกไป 2 คนแรกนั้น ให้การซัดทอดว่าไม้เป็นของนายตำรวจ จึงต้องดำเนินคดีกับตำรวจทั้งสองนายด้วย

นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมเมื่อคืนที่ผ่านมาแล้ว จึงต้องเดินทางมาในพื้นที่ด้วยตนเอง ที่ผ่านมา ได้สั่งการให้ชุดเฉพาะกิจออกตรวจตราและจับกุมขบวนการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้ได้ของกลางและอุปกรณ์การกระทำผิดด้วย การที่มีรถตราโล่ของตำรวจ และมีนายตำรวจระดับสูงของสภ.นครไทย อยู่ในที่เกิดเหตุ พร้อมของกลางเลื่อยยนต์ด้วยนั้น ให้ดำเนินการไปตามกติกาของชุดเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าอย่างเข้มงวด ตนได้แจ้งให้ผบภ.จว.พิษณุโลกและผบช.ภ.6รับทราบแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงที่นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้เดินตรวจของกลาง และตอไม้ที่ถูกโค่นนั้น พ.ต.ท.วิชาญ ( ภพณครินทร์ ชื่อใหม่ ) ปานทอง รองผกก( ปป.).สภ.นครไทย ภ.จว.พิษณุโลกได้เดินติดตามผู้ว่าฯตลอด และรายงานผู้ว่าฯพิษณุโลกว่า ได้รับรายงานจากสายว่ามีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า จึงนำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจสอบ และพบผู้ต้องหากับของกลาง จึงทำการควบคุม พร้อมของอุปกรณ์เลื่อยยนต์ไว้บนรถยนต์ตำรวจ และได้โทรศัพท์รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ระหว่างนั้นก็มีชุดเฉพาะกิจของป่าไม้เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าฯพิษณุโลกได้บอกกับรองผกก.สภ.นครไทยว่า ให้ดำเนินไปตามกติกา

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กระบี่, โรงแรมดังในกระบี่ชุ่ยทำลายสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะกว่า 10 ตันข้างถนนส่งกลิ่นเหม็น ( ข่าวกระบี่ )

ขยะที่โรงแรมดังในกระบี่ทำมาสิ่งข้างถนน ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม

โรงแรมชื่อดังในเมืองกระบี่ ชุ่ย ทำลายสิ่งแวดล้อม นำขยะมาทิ้งข้างถนนจนล้น ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว อ้างรถขนขยะเสีย ขณะที่นายก อบต.หนองทะเล เตรียมลงดาบผู้ประกอบการ


ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากชาวบ้านหมู่ที่ 3 ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ ว่า ได้มีโรงแรมชื่อดังในพื้นที่นำขยะและซากสิ่งก่อสร้างจากโรงแรม มาทิ้งบริเวณข้างทางเป็นจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เกิดกลิ่นเหม็นไปทั่ว สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ผ่านสัญจรไปมา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว เพราะบริเวณที่ทางโรงแรมนำขยะมาทิ้งเป็นถนนสายหลักที่จะเดินทางไปยังโรงแรมระดับ 5 ดาวหลายแห่ง


จากนั้นผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังจุดที่ได้รับการแจ้งมา พบว่า จุดที่มีการนำขยะมาทิ้งอยู่บริเวณหน้าโรงแรมภูเล ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง โดยที่ขยะดังกล่าวมีเป็นจำนวนมากกว่า 10 ตัน ถูกนำมาทิ้งไว้ข้างถนน และทะลักเข้าไปในป่าโกงกาง ทั้งยังตกหล่นอยู่บนถนน ซึ่งเมื่อผ่านไปมาก็จะพบกับขยะและกลิ่นเหม็นไปทั่ว และจากการสอบถามคนงานก่อสร้างที่ปลูกสร้างแค้มที่พักบริเวณใกล้เคียงไม่มีคนออกมารับผิดชอบว่าใครที่ได้นำขยะมาทิ้งบริเวณดังกล่าว


ผู้สื่อข่าวยังรายงานด้วยว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า บริเวณรอบๆ กองขยะที่ทางโรงแรมนำมาทิ้งไว้ส่วนหนึ่งเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขัง และมีป่าโกงกางอยู่เป็นจำนวนมาก และอีกด้านหนึ่งเป็นเนินเขา แต่กลับพบว่า ได้มีการบุกรุกภูเขาดังกล่าวโดยการขึ้นไปทำลายในลักษณะเตรียมสร้างที่พัก แต่ก็ไม่ทราบว่า เป็นฝีมือของใคร ครั้นได้สอบถามชาวบ้านก็ไม่มีใครทราบ เพียงแต่บอกว่าเดิมทีพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวน แต่ในช่วง 1-2 ปีนี้ ได้มีการบุกรุกจากกลุ่มทุนเพื่อสร้างโรงแรม


นายสุขกาย จันทร์อ่อน นายก อบต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบว่า มีผู้ประกอบการนำขยะมาทิ้งบริเวณข้างทางในพื้นที่หมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นย่านแหล่งท่องเที่ยว และมีธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาวอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อรับทราบแล้วก็จะได้รีบเข้าไปดำเนินการจัดเก็บให้เรียบร้อย และจะหาผู้ที่นำขยะมาทิ้งเพื่อรับผิดชอบ


ในส่วนของ อบต.เองได้มุ่งเน้นในเรื่องความสะอาดและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ แต่ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปดูแลได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเรื่องของการจัดเก็บขยะ เพราะ อบต.มีรถที่ใช้สำหรับเก็บขยะเพียง 1 คัน แต่จะต้องออกเก็บขยะถึง 7 ตำบล อีกทั้ง ต.หนองทะเล กำลังเติบโตทางด้านการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ในส่วนของการทำงานของ อบต.ก็ตามไม่ทัน เพราะติดอยู่ที่เรื่องของงบประมาณ


ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ประสานไปยังโรงแรมแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้กองขยะ เพื่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของขยะดังกล่าว ซึ่งในครั้งแรกทางโรงแรมปฏิเสธ และยืนยันว่า ไม่ใช่ขยะของโรงแรม ต่อจากนั้น ได้ประสานไปยังผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมภูเล แต่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อ ซึ่งได้ออกมารับสารภาพว่าขยะดังกล่าวเป็นของโรงแรมภูเล เพียงแต่ก่อนนั้นได้มีรถของ อบต.หนองทะเลมาจัดเก็บ แต่ในช่วงนี้ทางโรงแรมได้มีการปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติม จนทำให้มีขยะเพิ่มขึ้น ซึ่งทางโรงแรมก็มีรถกระบะที่ใช้สำหรับขนถ่ายขยะไว้ 1 คัน แต่เกิดเสีย จึงต้องนำขยะมาทิ้งบริเวณดังกล่าว และเตรียมที่จะย้ายไปที่อื่น ซึ่งตรงนี้ทางโรงแรมจะเข้าไปรับผิดชอบในทันที เพียงแต่ขออย่าได้ตกเป็นข่าวเพราะจะส่งผลเสียกับทางโรงแรม


ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวว่า ด้วยเหตุผลใดที่จำต้องนำขยะมาทิ้งบริเวณข้างทาง ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมภูเล กล่าวว่า ทางคนงานที่มารับเหมางานเป็นผู้นำไปทิ้ง ซึ่งทางโรงแรมไม่ทราบว่าเขานำไปทิ้งที่ใดแต่มารู้อีกครั้งเมื่อถูกชาวบ้านร้องเรียนว่าขยะดังกล่าวเป็นของโรงแรมภูเล และนำมาทิ้งบริเวณข้างถนน ซึ่งเป็นถนนที่ใช้สัญจรไปมาในย่านสถานที่ท่องเที่ยว

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อึ้ง! วาฬตาย เพราะกินถุงพลาสติก นำกระดูกจัดระลึก





เต่าทะเล ก็มี เซ่นถุงพลาสติก นำกระดูก วาฬ ตาย จัดระลึก!
ภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

นำกระดูก "วาฬหัวทุยแคระ" เหยื่อขยะพลาสติก จัดแสดงให้ความรู้ ถึงประวัติความเป็นมา สาเหตุการตาย ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของขยะที่ถูกทิ้งลงทะเล พร้อมทั้งตั้งชื่อ "ยะหยา" เป็นที่ระลึก ชี้เป็นบทเรียนแม้เป็นสัตว์อยู่ท้องทะเลลึก แต่ได้รับผลกระทบจากน้ำมือมนุษย์ ขณะที่สัตวแพทย์ชี้ นอกจากวาฬยังมี "เต่าทะเล" ตกเป็นเหยื่อ ใน 1 ปีมาเกยตื้นตาย 20-30 ตัว ครึ่งหนึ่งกินพลาสติก เพราะเข้าใจว่าเป็นแมงกะพรุน ก่อนตายจะเจ็บปวดทรมานมาก กระเพาะไม่ย่อย อ้วก หมดแรงกระทั่งตาย
จากเหตุการณ์สลด "วาฬหัวทุยแคระ" เพศเมีย ลำตัวยาวกว่า 2 เมตร หนักเกือบร้อยกิโลฯ ว่ายมาเกยตื้นที่ชายหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต ตรวจสอบเบื้องต้นมีบาดแผลเต็มตัว อยู่ในสภาพใกล้ตาย สัตวแพทย์ฉีดยากันช็อกระหว่างเคลื่อนย้ายไปรักษา แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ตายระหว่างทาง เมื่อผ่าท้องและกระเพาะถึงกับผงะ มีขยะพลาสติกเต็มท้อง คาดเป็นสาเหตุทำให้ไม่ย่อยและขับถ่ายระบายออกมาไม่ได้ ทางนักวิชาการด้านทรัพยากรทางทะเลวอนนักท่องเที่ยวอย่าทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล หวั่นวาฬและสัตว์น้ำอื่นกินตายอีก ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมทรัพยากรทางทะเลพยายามรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจ และดูแลทะเลโดยไม่ทิ้งขยะลงทะเล นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมเก็บขยะในทะเลอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะท้องทะเลกว้างใหญ่มาก จากกรณีของวาฬหัวทุยแคระน่าจะบ่งบอกได้ว่าปัจจุบันขยะไม่ได้มีอยู่แค่ชาย ฝั่งเท่านั้น แต่ลุกลามออกไปไกลในท้องทะเลลึก เพราะปกติวาฬจะไม่ว่ายเข้ามาใกล้ฝั่ง อยู่ในท้องทะเลที่ไกลออกไป

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวต่อว่ากรณีนี้จึงน่าเป็นอุทาหรณ์ให้ทุกฝ่ายหันมาช่วยกันรณรงค์ดูแลท้องทะเลมากขึ้น เพราะขณะนี้ไม่เพียงแต่สิ่งที่เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์เท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก็ทำให้สภาพท้องทะเลเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลด้วย ดังนั้นสิ่งที่ต้องช่วยกันคือพยายามดูแลรักษาท้องทะเลอย่างดีที่สุด ไม่ทำลายด้วยการทิ้งขยะลงไป แม้จะเป็นชิ้นเล็กๆ ก็ส่งผลกระทบได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในวันที่ 8 มิ.ย. เป็นวันทะเลโลก หรือ World Ocean day การตายของวาฬหัวทุยแคระน่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ตระหนัก และช่วยกันดูแลทรัพยากรทางทะเลให้มากขึ้น
ด้าน น.สพ.สนธยา มานะวัฒนา สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ชันสูตรซากวาฬที่ตายเรียบร้อยแล้ว พบว่าสาเหตุน่าจะมาจากภาวะอุดตันของกระเพาะอาหาร ที่มีเศษขยะพลาสติกเข้าไปอุดตันจำนวนมาก ทำให้กระเพาะอักเสบ เป็นแผลหลุม และปื้นเลือดออกกระจายทั่วกระเพาะ นอกจากนี้ ยังพบภาวะท้องผูกบริเวณลำไส้เล็กส่วนท้าย บ่งชี้ถึงสภาวะขาดสารน้ำ คาดว่าเกิดจากการไม่ได้กินอาหารมาระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งพบภาวะติดเชื้อเป็นหนองในมดลูก ม้ามมีลักษณะหดตัวเล็กน้อย บ่งชี้ถึงการเสียเลือด เกิดจากแผลจำนวนมากในร่างกาย โดยภาวะทั้งหมดทำให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดสารอาหาร และช็อกจากความ เจ็บปวด
น.สพ. สนธยากล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้เคยพบสัตว์หลายชนิดที่ต้องตายเพราะกินถุงพลาสติกเข้าไป โดยเฉพาะพวกเต่าทะเล พบมาก ปีหนึ่งๆ จะมีเต่าเกยตื้นตาย 20-30 ตัว ครึ่งหนึ่งตายหรือพิการ เพราะติดเศษอวนของชาวประมง แต่อีกครึ่งหนึ่งตายเพราะกินถุงพลาสติกเข้าไป เนื่องจากมันเข้าใจว่าเป็นพวกแมง กะพรุน ถ้าหากสัตวแพทย์พบเร็วก็อาจจะช่วยชีวิตไว้ได้ แต่หากนานโอกาสมีชีวิตเหลือน้อย ที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นโคม่าแล้ว เนื่องจากสัตว์จะไม่เข้ามาใกล้ชายฝั่ง หรือมนุษย์ จนกระทั่งไม่ไหวแล้วเท่านั้นจึงถูกคลื่นซัดเข้ามา หากสัตว์ทะเลหรือสัตว์ต่างๆ กินพลาสติกเข้าไปจะเจ็บปวดและทรมานมาก เพราะกระเพาะไม่สามารถย่อยได้ จะทำให้ปวดท้องรุนแรง กินอาหารอื่นไม่ได้ อ้วกออกมาหมด ทำให้หมดแรงและตายในที่สุด

ส่วน น.ส.กาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน (ภูเก็ต) กล่าวว่า หลังจากชันสูตรซากวาฬแล้ว ทางสถาบันจะนำซากกระดูกของวาฬตัวนี้มาจัดเป็นมุมให้ความรู้ อยู่ในบริเวณสถาบัน พร้อมทั้งประวัติ ความเป็นมา และสาเหตุของการตายทั้งหมด เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนถึงพิษภัยของขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล รวมทั้งสร้างความตระหนักให้ประชาชน เพื่อช่วยกันดูแลท้องทะเล ไม่ทิ้งขยะลงไปสร้างความสกปรกให้ท้องทะเล และยังทำให้สัตว์ทะเลหายาก และสัตว์ทะเลอื่นๆ มีโอกาสตายจากการกินขยะเหล่านี้ด้วย

นักวิชาการ กลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังตั้งชื่อให้วาฬหัวทุยแคระเพศเมียตัวนี้ว่า ยะหยา หมายถึงชุดท้องถิ่นของสตรีชาวภูเก็ต เพื่อเป็นที่ระลึกว่า มันได้มาตายที่ชายหาดป่าตอง ภูเก็ต และยังเป็นบทเรียนให้แก่มนุษย์เห็นว่า สัตว์ทะเลแม้อยู่ในท้องทะเลลึกก็อาจจะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผลงานของ มนุษย์ได้เช่นกัน อีกทั้งมันยังช่วยสร้างกระแสให้คนตื่นตัวในการให้ความสำคัญรักษาธรรมชาติ มากขึ้น หวังว่าเมื่อเอ่ยชื่อยะหยาก็จะทำให้ทุกคนตระหนักไม่ทิ้งขยะลงในท้องทะเล หรือช่วยกันเก็บขยะขึ้นจากทะเลมากขึ้นอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระทึก! ช้างป่าคลั่ง บุกเมืองไล่กระทืบชาวบ้านดับ



สื่อต่างประเทศ รายงานว่า วานนี้(8มิถุนายน) ช้างป่า 2 ตัวออกอาละวาดกลางเมืองมีซอร์ ของอินเดีย สร้างความแตกตื่นและผู้คนต่างวิ่งหนีเอาชีวิตรอด
โดยผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า เมื่อเวลาประมาณ 6.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) ช้างป่าทั้ง 2 ตัว ออกจากป่าใกล้เคียง มุ่งหน้าเข้าสู่เมือง และอาละวาดฆ่าชายวัย 55 ปี หลังเขาได้ยินเสียงเอะอะจึงออกมาดูนอกบ้าน ทำให้ถูกช้างใช้งวงฟาดและกระทืบตายคาที่
หลังจากเกิดเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่อุทยานและพนักงานของสวนสัตว์มีซอร์ ได้ช่วยกับจับและให้ยาระงับประสาทแก่พวกมัน พร้อมทั้งส่งกลับคืนสู่ป่าในช่วงค่ำ







การที่ช้างป่าอาละวาดครั้งนี้ เจ้าหน้าที่เชื่อว่า น่าจะเป็นผลมาจากการที่ถูกมนุษย์บุกรุกป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่าดังกล่าว

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เวียดนามเร่งสำรวจประชากรเสืออีกรอบ ทั้งป่าเหลือไม่ถึง 50 ตัว

#เวียดนามเร่งสำรวจประชากรเสืออีกรอบ ทั้งป่าเหลือไม่ถึง 50 ตัว!!




เหมียวยักษ์ -- พวกตัวเล็กยังร้องกันเหมียวส่วนคุณแม่ร้องโฮก เป็นเสือโคร่งพันธุ์เบงกอลในสวนสัตว์กุวาฮาติ รัฐอัสสัมของอินเดีย ในภาพแฟ้มวันที่ 27 ธ.ค.2553 ครอบครัวนี้ปลอดภัย แต่อีกนับพันตัวในป่าธรรมชาติยังเสี่ยงชีวิตไม่ต่างกับกับญาติๆ พันธุ์อินโดจีนในดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน สัปดาห์นี้รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ขอให้กระทรวงเกษตรฯ สำรวจประชากรเสือในประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าขณะนี้มีเหลืออยู่ในป่าไม่ถึง 50 ตัว.-- AFP PHOTO/STR/FILES.


     
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ ฟัมซยาเคียม (Pham Gia Khiem) ได้ขอให้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท สำรวจประชากรเสือโครงในประเทศ ซึ่งข้อมูลของทางการเมื่อปี 2552 ระบุว่า ยังมีเหลืออยู่ในป่าธรรมชาติราว 50 ตัว แต่ช่วงที่ผ่านมาได้มีการลักลอบล่าไปจำนวนหนึ่ง 



  นายเคียม ยังขอให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีมาตรการพิทักษ์ปกป้องเสือโคร่งตามพันธสัญญาที่เวียดนามให้ต่อที่ประชุมผู้นำประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์เสือ ที่จัดขึ้นในกรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว
     
       แม้ว่าเวียดนามจะมีกฎหมายคุ้มครองเสือโคร่งพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ พันธุ์อินโดจีน ที่ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ แต่ยังมีการลักลอบล่าออกจากป่าธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีความต้องการในตลาดสูง โดยเชื่อกันว่ากระดูกเสือเป็นยาอายุวัฒนะ ขณะที่เนื้อของมันยังเป็นอาหารป่าจานเด็ดราคาแพงอีกด้วย ทำให้ผู้เชี่ยวชาญวิตกว่าเสืออาจจะสูญพันธุ์จากป่าในเวียดนาม
     
       นอกจากที่อาศัยในธรรมชาติแล้วยังมีเสือโคร่งอีก 95 ตัวในฟาร์มเลี้ยงของเอกชน ในสวนสัตว์และในคณะละครสัตว์ทั้งนี้เป็นตัวเลขของโครงการอนุรักษ์เสือโคร่งแห่งชาติเมื่อปี 2552 ซึ่งตีพิมพ์ในเว็บไซต์ของรัฐบาล
     
       ตามรายงานของสื่อต่างๆ ปีที่แล้วตำรวจเวียดนามสามารถจับกุมแก๊งลักลอบค้าสัตว์ป่าได้หลายครั้ง จับยึดเสือโคร่งแช่แข็งทั้งตัวได้ 2 ตัว และยึดชิ้นส่วนต่างๆ ของเสือได้อีกจำนวนมาก
     
       บางกระแสกล่าวว่า เสือแช่แข็งที่ขนเข้าเวียดนามไปจากลาวซึ่งมีฟาร์มเพาะเลี้ยงของเอกชนอยู่แห่งหนึ่ง แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพิสูจน์ได้ยาก หรืออาจจะไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าไปจากฟาร์มหรือถูกล่าออกจากป่า
     
       ปีที่แล้วเช่นกันทางการเวียดนามได้สั่งปิดฟาร์มเลี้ยงเสือไป 1 แห่งใน จ.บี่งซเวือง ใกล้นครโฮจิมินห หลังพบว่ามีการนำเสือที่ลักลอบล่าออกจาป่าเข้าเลี้ยงในฟาร์มด้วย...