วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นอนป่วยน้ำท่วมไปไหนไม่ได้ เครียดดับคาบ้าน



สถานการณ์น้ำท่วม ใน จ.ปราจีนบุรี ยังไม่คลี่คลาย ล่าสุดสังเวยอีก 2 ศพ นอนป่วยน้ำท่วมออกไปไหนไม่ได้เครียดดับคาบ้าน...

สถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ที่บริเวณชุมชนตลาดเก่ากบินทร์ พบว่าปริมาณน้ำยังคงสูงขึ้น เนื่องจากมีน้ำจากแควพระปรง ทางด้านจังหวัดสระแก้ว ได้ไหลลงมาสมทบกับน้ำในเขตพื้นที่อำเภอนาดี แม้ว่าในช่วงสองวันนี้ จะไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ก็ตาม

โดยชาวบ้านที่อาศัยในเขตพื้นที่น้ำท่วม ได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากปกติในการเดินทางมาใช้เรือพายในการเดินทางเข้าออกจากบ้านพัก เพื่อเดินทางไปทำธุระนอกบ้าน ในพื้นที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี มีอ่างเก็บน้ำคลองฟันปลา หมู่ที่ 16 ตำบลโพธิ์งาม แตกพังทลาย วันที่ 17 สิงหาคม 2554 เนื่องจากปริมาณน้ำป่าจากเขาใหญ่ไหลลงสู่พื้นที่ที่จำนวนมาก ซึ่งในขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหาร จาก พล.ร.2 รอ. ได้นำกำลังพลทำเข้าทำการซ่อมแซมวางกระสอบทราบ เพื่อป้องกันสะพานพังเสียหาย จากปริมาณน้ำในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอประจันตคาม ได้ไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นจนเอ่อล้นตลิ่ง ไหลท่วมถนนด้านหน้าโรงเรียนปราจีนกัลยาณี รวมทั้งร้านอาหารที่ปลูกอยู่สองฝั่งแม่น้ำต้องถูกน้ำท่วมขัง จนต้องปิดร้านค้า

โดยเฉพาะวัดแก้วพิจิตรที่ ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำบางปราจีนบุรี ในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรีห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 242 ซึ่งมีสถาปัตยกรรมภายนอกและการตกแต่งภายในอาคารผสมผสานระหว่างศิลปะไทย จีน ยุโรป และ เขมร อาคาร ที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ที่ฝาผนังด้านนอกมีภาพปูนปั้นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีเสาแบบกรีก ด้านนอกหัวเสาเป็นแบบโครินเธียล น้ำในแม่น้ำปราจีนกำลังไหลเข้าท่วมพื้นที่บริเวณวัดแล้ว



ส่วนทางด้านอำเภอกบินทร์บุรี เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 21 สิงหาคม 54 ร.ต.ท.วิฑูรย์ วงค์ใหญ่ ร้อยเวรสอบสวน สภ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี รับแจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสัจจพุทธธรรมกบินทร์บุรี ว่ามีผู้เสียชีวิตสาเหตุจากจมน้ำ ที่บริเวณสวนยูคาลิปตัส บ้านวังห้าง หมู่ที่ 2 ตำบลนาแขม อำเภอกบินทร์บุรี หลังจากรับแจ้งได้เดินทางไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ พร้อมแพทย์ชันสูตรโรงพยาบาลกบินทร์บุรี ในที่เกิดเหตุต้องเดินลุยน้ำเข้าไปยังที่เกิดเหตุประมาณ 100 เมตร

ตรวจสอบพบศพนายสมจิตร สามเรือง อายุ 53 ปี บ้านเลข 27 หมู่ 2 ตำบลนาแขม อำเภอกบินทร์บุรี สภาพศพจมอยู่ใต้น้ำ พร้อมกับเรืออยู่ในป่ายูคาลิปตัส ที่มีน้ำลึกเกือบ 2 เมตร เจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันงมศพขึ้นมาจากน้ำเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทย์ชันสูตร พบว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง

ส่วนสาเหตุ น่าจะมาจากถูกน้ำพัดตกจากเรือขณะที่ออกเรือหาปลา และถูกกระแสน้ำพัดเรือจมลง ส่วนตัวเองนั้นว่ายน้ำไม่เป็นจึงจมน้ำเสียชีวิตดังกล่าว และ หมู่ที่ 3 ตำบลนาแขม ซึ่งเป็นพื้นที่มีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร ได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตอีกราย คือนายทองดำ ขันดงลิง อายุ 63 ปี ไม่ทราบบ้านเลขที่ ที่ป่วยนอนอยู่กับบ้านที่ถูกน้ำท่วมไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ จนเกิดอาการเครียดและช็อคจนเสียชีวิตไปอีกราย

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นครพนม-สุนัขตายเพิ่ม




สุนัขที่รอดชีวิตจากแก๊งค้าสุนัขตายเพิ่มอีกหลายสิบตัว หัวหน้าด่านกักกันสัตว์นครพนม เผยว่ายังต้องการอาหารสุนัขเพิ่มหลังจากสุนัขฟื้นตัวในอีกสองวันนี้

เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสุขศาสตร์สัตว์ และสุขอนามัยที่ 4 จังหวัดขอนแก่น เดินทางมาช่วยรักษาและฟื้นฟูสุขภาพสุนัขที่ถูกแก๊งค้าสุนัขจับใส่กรงรวมไว้อย่างแออัด ร่วมกับสัตว์แพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม จำนวนกว่า 10 คน ช่วยกันปฐมพยาบาลสุนัขที่ได้รับบาดเจ็บตามสภาพที่พบเห็น โดยหากมีแผลถลอกก็จะฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค เบื้องต้นจะต้องปล่อยให้สุนัขได้ฟื้นตัวสัก 2-3 วัน เสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะฉีดวัคซีน และทำหมันได้

โดยตลอดคืนที่ผ่านมาสุนัขที่บอบช้ำ และส่วนใหญ่บาดเจ็บจากการแก๊งค้าสุนัขจับอัดใส่กรงได้ล้มตายเพิ่มขึ้นนับสิบตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ขุดหลุมขนาดใหญ่เตรียมไว้ทำการกลบฝัง ขณะชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างทยอยนำอาหารมาให้สุนัขคนละเล็กละน้อยตลอดทั้งวัน ขณะที่บางคนมาตามหาสุนัขที่หายออกจากบ้านโดยมีความหวังว่าจะได้พบที่คอกสุนัขแห่งนี้

นายชูศักดิ์ พงษ์พานิช หัวหน้าด่านกักกันสัตว์นครพนม เปิดเผยว่าขณะนี้อาหารสุนัขยังขาดแคลนอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากช่วงนี้เป็นระยะแรก ๆ ที่สุนัขยังไม่สามารถกินอาหารได้มากนักเนื่องจากยังบาดเจ็บและป่วยไข้ ซึ่งหลังจากนี้ 3-4วัน เมื่อสุนัขฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติแล้วจะกินอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่านี้หลายเท่า เกรงว่าอาหารที่เตรียมไว้จะไม่เพียงพอซึ่งได้ประสานไปที่ต้นสังกัดเพื่อขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมแล้ว ขณะเดียวกันก็เปิดรับบริจาคจากชาวบ้านทั่วไปด้วย เกรงว่าเวลาผ่านไปผู้คนจะลืม เพราะสุนัขเหล่านี้จะต้องอยู่ที่นี่ไปอีกนานจนกว่าศาลจะสั่งคดีจนถึงที่สุด

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

'แอฟริกา'วิกฤติ!ร่วมลดโลกร้อน

...ก่อนสัตว์ป่าสูญ ทวีปแอฟริกา เป็นทวีป ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อากาศจึงแห้งแล้ง โดยทวีปนี้แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่ามากมาย แต่ก็ยังคงเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนามากที่สุด รวมถึงการได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจนถึงขั้นวิกฤติ!?! ภาวะโลกร้อนได้ส่งผลให้พื้นที่ต่างๆ ของแอฟริกาที่แห้งแล้งอยู่แล้วมีความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ชุ่มน้ำอยู่แล้ว ก็กลับมีน้ำเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตบ้างสูญพันธุ์บ้างมีอัตราการเกิดน้อยลง วิศิษฏ์ วิชาศิลป์ รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ อธิบายว่า ในรอบ 100 ปี ที่ผ่านมาทวีปแอฟริกาได้รับผลกระทบจากโลกร้อนทำให้ มีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส โดยในหลายพื้น ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และในบางพื้นที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง
3.5 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 20 ปี เท่านั้น เช่น พื้นที่บางส่วนของประเทศเคนยาที่มีพื้นที่แห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและการบริโภค ปัจจุบันแอฟริกากำลังเผชิญกับความแห้งแล้งที่เลวร้ายแทบทั้งทวีป โดยพื้นที่กึ่งแห้งแล้งทางตอนเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออกและหลายส่วนทางใต้ของแอฟริกากำลังเผชิญ ความแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น ขณะที่บริเวณจุดศูนย์สูตรและบางส่วนทางตอนใต้กลับมีน้ำมากขึ้น ประชากรในบริเวณซับซาฮาราอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร ฯลฯ ความสำคัญของทวีปแอฟริกาเดิมทีเคยเป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดกว่าพื้นที่อื่น ๆ มีจำนวนสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดเนื่องจากที่อยู่อาศัยยัง ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ปัจจุบันปริมาณการเกิดของสัตว์ลดน้อยลงเนื่องจากภาวะโลกร้อน และเริ่มมีการรุก ล้ำพื้นที่ป่า เพื่อทำการเกษตร โดยล่าสุดแม้จะมีการค้นพบสัตว์ป่าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลิงไฮแลนด์ แมงกะบี้ (High- land Mangabey) แต่ในขณะเดียวกันก็มีสัตว์ป่าล้มตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์และเหลือน้อยจากผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สัตว์ประเภท แอนทิโลปซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกวางและมีเขาสวยงาม ส่วนสัตว์ประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด โดยลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทำให้วงจรชีวิตของสัตว์เปลี่ยนแปลงไป เช่น สัตว์จำพวกแมลงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่มีกบ เขียด คอยจับกินเป็นอาหาร จึงไปรบ กวนแปลงเกษตรที่ปลูกพืชผักของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีนกอินทรีย์ นกกระจอก เทศที่กินปลาเป็นอาหารต้องขาดแคลนทั้งแหล่งน้ำ และอาหารทำให้ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก เช่นกัน ในอนาคตอีกหลายสิบปีข้างหน้าผลกระทบจากโลกร้อนจะยังคงทวีความรุนแรงขึ้นหากยังไม่มีการอนุรักษ์ หรือรณรงค์จะทำให้สัตว์ใหญ่ทั้งหลายไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยนอกจากสัตว์แล้วตัวมนุษย์เองเป็นด่านแรก ที่จะต้องได้รับผลกระทบต่อชีวิต เนื่องจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอุณหภูมิสูงขึ้นสภาวะแห้งแล้งเลวร้ายลง ทุกทวีป มนุษย์จะถูกคุกคามด้านอาหารจนเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร หากเรายังนิ่งนอนใจไม่ช่วยกันฟื้นฟูดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ชีวิตเพื่อลดปัญหาอุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลงให้มีภาวะสมดุลมากขึ้น ในอนาคตไม่ใช่แค่ทวีปแอฟริกาเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบอันเลวร้ายนี้แต่มนุษย์ทั่วโลกอาจได้รับผลตอบแทนจากการกระทำอย่างทั่วถึงทุกคน.
เนรมิตห้างสู่ดินแดนแอฟริกา ดิเอ็มโพเรียมช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพ มหานครและกลุ่มธุรกิจ Green Alliance Network จัดงานอีเวนต์ด้านสิ่งแวดล้อมปีที่ 3 ภายใต้ชื่อ “Emporium Flora & Fauna Exotica : King of The Jungle อลังการเจ้าป่าซาฟารี” เนรมิตห้าง ดิ เอ็มโพเรียมเป็นดินแดนแอฟริกา สรวงสวรรค์แห่งสัตว์ป่านานาพันธุ์ สัมผัสพันธุ์ไม้หายาก พร้อมร่วมสร้างสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยกันป้องกันรักษาไว้ ศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปจำกัด กล่าวถึงการจัดงาน “Emporium Flora & Fauna Exotica : King of The Jungle อลังการเจ้าป่าซาฟารี” ว่า ถือเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้วโดยบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้จัดขึ้นเพื่อร่วมกันปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้คนไทย โดยงานนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ King of The Jungle อลังการเจ้าป่าซาฟารี เนื่องจากได้เล็งเห็นความสำคัญของทวีปแอฟริกาที่มีปริมาณสัตว์ป่ามากที่สุดในโลก แต่กำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนจนปริมาณสัตว์ลดน้อยลงอย่างชัดเจน ภายในงานได้จัดแสดงสายพันธุ์สัตว์และพืชพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบรรยากาศของป่าซาฟารี เพื่อสร้างกระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน แบ่งเป็นโซนต่าง ๆ 8 โซน ได้แก่ โซนอลังการ เจ้าป่าซาฟารี โซนอัศจรรย์ดอกโพรเทีย โซนเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้เพื่อประหยัด พลังงาน โซนเจิดจรัสความงามแห่งธรรม ชาติ โซนมหัศจรรย์เมียร์แคทโซนตระการตาบ้านทาร์ซานและเหล่าวานร โซนรังสรรค์สวรรค์จินตนาการและโซนเจิดจรัสสวรรค์วิหค ร่วมสัมผัสความมหัศจรรย์และความงดงามของดินแดนแอฟริกาได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 ตุลาคมศกนี้ที่ ดิ เอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์.

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"ปะการังฟอกขาว" ที่สุดแห่งวิกฤตทะเลไทย

"ปะการัง" เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ใต้ทะเลตามซอกตามรูของหินปูนแต่ละก้อนที่สร้างขึ้นมา ภายในเนื้อเยื่อของปะการังก็จะมีสาหร่ายเซลล์เดียวชน ิดหนึ่งอาศัยอยู่ ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้จะเป็นวัตถุที่ช่วยสร้างสีสันให้ก ับปะการังนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ปะการัง อีกด้วย

แต่จากกรณีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยผลสำรวจสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ระบุข้อมูลที่น่าตกใจว่า งานวิจัยเกี่ยวกับปะการังฟอกขาวที่ทำกันมาอย่างต่อเน ื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 พบว่าสภาวะของปะการังฟอกขาวในปี 2553 นี้ เป็นการฟอกขาวที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่งสำหรับท้องทะเลไทย


*ปะการังฟอกขาว ระบาดน่านน้ำไทย

ในปี 2553 นี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)ได้สำรวจสภาวะการฟ อกขาวของปะการังในน่านน้ำไทย ผลปรากฏว่า พบปะการังฟอกขาวที่เกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงผิดปกติ (อุณภูมิปกติประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส) พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2553 เป็นต้นมา และอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นถึง 31 องศา เมื่อต้นเดือนเมษายน (อุณหภูมิที่อาจถือว่าเป็นจุดกระตุ้นให้เกิดการฟอกขา วคือที่ 30.1 องศาเซลเซียส

หากปะการังอยู่ในสภาพที่อุณหภูมิสูงกว่า 30.1 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ จะทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวขึ้น) ซึ่งเริ่มเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน นอกจากในประเทศไทยแล้ว ยังมีการฟอกขาวของปะการังทั่วภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ แถบตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟ ซีเชลส์ พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย


ปะการังสมองกำลังฟอกขาว

จากการสำรวจข้อมูลในประเทศไทย พบว่าแนวปะการังทุกจังหวัดทางฝั่งอันดามัน เกิดการฟอกขาวมากกว่า 70 % ของปะการังมีชีวิตที่มีอยู่ และหลังจาก 1 เดือน ปะการังที่ฟอกขาวเริ่มตาย 5 – 40 เปอร์เซ็นต์ขึ้นกับสถานที่ สำหรับฝั่งอ่าวไทย พบการฟอกขาวรุนแรงเช่นเดียวกับฝั่งอันดามัน โดยบริเวณกลุ่มเกาะตอนบนของจังหวัดชลบุรี (เกาะสีชัง เกาะนก เกาะสาก เกาะครก เกาะจุ่น) พบการฟอกขาวช้ากว่าจุดอื่นๆ

สำหรับในพื้นที่อื่น อาทิ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สำรวจ 8 สถานี พบมีการฟอกขาวบริเวณอ่าวนำชัย ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ สำรวจ 10 สถานี พบฟอกขาวทั้งเกาะสุรินทร์เหนือและใต้ 30 - 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ พบการฟอกขาวบริเวณแหล่งดำน้ำ จ.พังงาและภูเก็ต ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทะเลอ่าวไทย สำรวจที่เกาะช้าง จ.ตราด เกาะเสม็ด จ.ระยอง ทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมชาติ พบการฟอกขาวไม่รุนแรง แต่อุทยานแห่งชาติทางทะเล จ.ชุมพร พบว่ามีการฟอกขาวประมาณ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์

สำหรับอุทยานแห่งชาติในฝั่งอันดามันมีการปิดฤดูกาลท่ องเที่ยวไปแล้ว แต่ในฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด เขาแหลมหญ้า จ.ระยอง และหมู่เกาะช้าง จ.ตราด ที่ยังคงมีการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาปะการ ังฟอกขาวได้


*เอลนีโญ ตัวต้นเหตุ

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. กล่าวว่า กรณีปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นในทะเลอ่าวไทยและอันดาม ันขณะนี้ เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างรู้ว่าดีว่าการเกิดปร ากฏการณ์เอลนีโญในช่วงหลังมานี้มีความสัมพันธ์กับภาว ะโลกร้อนอย่าง ชัดเจน

อีกทั้งยังมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น โดยที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการศึกษาปะการังมากว่า 60-70 ปีแล้ว พบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่รุนแรงเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2541 และปีนี้ พ.ศ. 2553 จะเห็นได้ว่าเมื่อ 30-40 ปีก่อนอาจจะมีปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นบ้างแต่ไม่รุนแรง ทว่าขณะนี้ปรากฏการณ์ที่รุนแรงเกิดถี่มากขึ้น

"ครั้งนี้เป็นครั้งที่โดนในพื้นที่กว้างที่สุด ความรุนแรงก็ไม่เท่ากันแล้วแต่พื้นที่ ถ้าย้อนอดีตทั้งหมดตั้งแต่เราเริ่มทำงานด้านปะการังม าจนถึงตอนนี้ ก่อนหน้าปี 2535 เราแทบไม่เจอปะการังฟอกขาวเลยเจอก็น้อยมาก แต่พอหลังปี 2535 เราเริ่มเจอปะการังฟอกขาวรุนแรงขึ้นและก็ถี่ขึ้น ซึ่งภาวะนี้มันเกี่ยวข้องโดนตรงกับเอลนีโญ"ผศ.ดร.ธรณ ์ กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งยังกล่าวต่ออีกว่า การเกิดปะการังฟอกขาวเป็นเครื่องบ่งบอกว่าภาวะโลกร้อ นเริ่มมีผลรุนแรงต่อธรรมชาติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมันรุนแรงมากในกรณีของปะการังฟอกข าว ผลที่เกิดขึ้นคือปะการังตาย ผลกระทบก็จะต่อเนื่องไปถึงจำนวนปลา เรื่องของการประมง เรื่องของการท่องเที่ยว หรือเรื่องของการกัดเซาะชายฝั่งด้วย

เนื่องจากแนวปะการังเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายที่สุ ดในทะเล พอแนวปะการังสูญเสียไป ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตก็ลดลง เรื่องของแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำที่หากินก็ลดล ง สัตว์น้ำตัวใหญ่อย่าง ปลาเก๋า กุ้งมังกร อาจจะสูญหายไปจากหลายพื้นที่

"การท่องเที่ยวกระทบแน่นอน ไม่มีปะการังแล้วจะไปดำน้ำดูอะไร ปะการังฟอกขาวใช่ว่าจะไม่ตาย พอมันขาวหมดแล้วประมาณสัก 3-6 เดือน ปะการังที่เห็นเป็นโครงขาวๆก็จะป่นพินาศหายไปหมด เสร็จแล้วจะมีสาหร่ายมาขึ้นแทน ก็กลายเป็นแนวหินโสโครก ซึ่งไม่มีใครดำน้ำดูแนวหินโสโครก ตอนแรกที่นักท่องเที่ยวเห็นปะการังฟอกขาวก็จะตื่นเต้ น โอว...ปะการังสีเขียว สีทองเรืองแสง แต่ 3 เดือนจากนี้โครงปะการังจะหักหมด แล้วสาหร่ายจะขึ้นคลุม อาจจะเป็นอีก10 ปีแนวปะการังแถบนั้นจะไม่กลับมาเลย สิ้นสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปเลย 10-20 ปี" ผศ.ดร.ธรณ์ แสดงความวิตกต่อปัญหานี้


หรือสีสันแห่งท้องทะเลจะหายไป

ทางด้าน ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง หัวหน้าหน่วยวิจัยปะการังและสัตว์พื้นทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) กล่าวถึงกรณีเช่นกันว่า ปีนี้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่าทุกปี แดดแรงกว่าทุกปี ครั้งนี้ถือว่าเป็นการฟอกขาวครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าท ี่เราเคยมีมา

เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ ของโลกกระแสน้ำในมหาสมุทรจะมีการเปลี่ยนทิศทาง กระแสน้ำจะไหลไปทิศทางไหนก็ขึ้นอยู่กับลมภูมิอากาศขอ งโลก ลมไปทางไหนจะแรงหรือไม่แรง ปะการังฟอกขาวเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอันหนึ่งจากการท ี่สภาพภูมิอากาศของโลกมันเปลี่ยน อย่างเกาะเต่า เกาะอาดังราวี สถานการณ์ปะการังฟอกขาวปีนี้แย่กว่าปีที่มีสึนามึ ตอนสึนามิแค่ปะการังหักพังฟื้นตัวไม่ยาก แต่ปีนี้ปะการังฟอกขาวไม่แน่ว่าอาจจะมีบางส่วนตายด้ว ยซ้ำ

"ปกติถ้าฟอกขาวตามหลักวิทยาศาสตร์ คือ ปะการังแค่เหวี่ยงสาหร่ายออกไปจากตัวมันเมื่ออุณหภูม ิสูงมากๆ เอาสาหร่ายที่ทำให้ปะการังมีสีสันออกมา ตัวมันเลยเห็นเป็นเนื้อเยื่อใสๆสีขาว คลุมก้อนหินปูนอยู่คล้ายวุ้น เราเลยเห็นใสเป็นสีขาวไปทั่วบริเวณที่มีปะการังฟอกขา ว มันยังไม่ตาย ถ้าเกิดสภาพแวดล้อมเหมาะสมไม่มีมลภาวะอะไรต่างๆซ้ำเต ิมมันก็จะสามารถกลับคืนมาได้

ขณะนี้เราก็ทำได้ในเรื่องของการฟื้นตัว เราก็เก็บข้อมูลเบื้องต้นไปก่อนว่ามีที่ไหนบ้างที่ฟอ กขาว เดือนหน้าเราจะกลับไปติดตามใหม่อีกครั้ง ไปดูว่าฟอกขาวแล้วมันกลับคืนมาไหม หรือว่าตาย ตอนนั้นเราถึงจะประเมินได้เต็มที่ว่ามันจะเสียหายมาก น้อยแค่ไหน"ดร.ศักดิ์ อนันต์ กล่าว

ทั้งนี้ ดร.ศักดิ์อนันต์ ยังได้กล่าวถึง การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกาะเต่า พื้นที่ซึ่งศึกษาผลกระทบมากว่าสองปีว่า สองปีที่ผ่านมา เราวิจัยพบว่ามีปะการังหลายๆจุด ที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว หลายๆจุดไม่มีทุ่นจอดเรือที่เหมาะสม ก็ยังคงพบเห็นการทิ้งสมอเรือในแนวปะการังอยู่ หลายที่ยังพบนักท่องเที่ยวที่ไปดำน้ำตื้นหยียดปะการั ง โดยยังไม่มีกระบวนการจัดการที่เหมาะสม

"จากการศึกษาเรื่องปะการังฟอกขาว มันก็ขึ้นอยู่กับปะการังด้วยว่าเป็นปะการังชนิดไหน ถ้าเป็นปะการังเขากวาง พวกกิ่งก้านทั้งหลายมีแนวโน้มเกิน 50 เปอร์เซนต์ที่มีโอกาสตายสูง เนื่องจากเขากวางเป็นปะการังที่เปราะบางมาก อย่างกลุ่มปะการังก้อน ปะการังสมอง ตอนที่เราเจอเมื่อปี 2541 ปะการังก็กลับคืนมาโดยเฉพาะปะการังก้อนฟื้นคืนมาเกือ บทั้งหมด ตอนนี้สภาพของปะการังฟอกขาว ทำให้คนที่เข้าไปเที่ยวต้องระวัง ไม่สร้างความกระทบเพิ่มเติมแก่ปะการัง เพื่อที่มันจะได้มีโอกาสฟื้นตัวสูง" ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าว


*จุดวิกฤต

เมื่อพูดถึงจุดวิกฤตที่ต้องระมัดระมัดเป็นพิเศษ ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุว่าจุดวิกกฤตที่น่าเป็นห่วงคือ ที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากทางอื่นอยู่ด้วย เช่น แนวปะการังที่เกาะช้าง เกาะสมุย ซึ่งเป็นเกาะที่มีการพัฒนาค่อนข้างเยอะและรุนแรง มีการตัดถนน ทำรีสอร์ท ทำให้ตะกอนลงทะเล การขยายตัวของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดการควบคุมที่ไม่ ดี สองแห่งนี้น่าเป็นห่วงที่สุด

"อย่างเกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน ผมเชื่อว่าหลังจากปรากฏการณ์นี้ไปธรรมชาติสามารถฟื้น ฟูตัวเองได้ ปะการังฟอกขาวอยู่มาเป็นล้านปี ถ้าฟื้นฟูไม่ได้ก็ตายหมดแล้ว แต่ว่าปัจจุบันมันมีผลกระทบของมนุษย์เข้าไปซ้ำเติมต่ อการฟื้นตัว เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่มีผลกระทบเยอะๆอย่างเกาะสมุย เกาะช้าง ในอดีตเราเรียนรู้มาตั้งแต่ปี 2541 แล้วว่ามันไม่ฟื้น แล้วมาโดนหนนี้ซ้ำ ไอ้ที่มันพอเหลืออยู่บ้าง ก็จะยิ่งไม่ฟื้นหนัก" ผศ.ดร.ธรณ์กล่าวด้วยความเป็นห่วง

ด้านความคิดของดร.ศักดิ์อนันต์ มองว่า จุดที่น่าเป็นห่วง คือ ทะเลฝั่งอ่าวไทย เพราะทางอันดามันลมฝนเริ่มมา คาดว่าน่าฟื้นตัวได้เร็ว การป้องกันที่ดีที่สุด ขณะนี้ต้องไม่สร้างผลกระทบเพิ่มขึ้น พร้อมแนะนำว่าฝั่งอ่าวไทยที่ยังคงเปิดให้นักท่องเที่ ยวเข้าได้นั้นไม่ควรก่อให้เกิดปัญหามลพิษเพิ่มมากขึ้ น ไม่ไปเหยียบปะการังที่กำลังฟอกขาวอยู่

"สิ่งที่อยากเตือนนักท่องเที่ยว ก็คือเรื่องการเหยียบปะการัง การให้อาหาปลา การทิ้งอาหารเหลือลงทะเลเป็นสิ่งที่สร้างแบคทีเรียเพ ิ่มมากขึ้น พอแบคทีเรียมาก ธาตุอาหารมาก มันก็มีพวกแพลนตอนพืช สาหร่าย ยึดครองพื้นที่ทำให้กระทบต่อปะการังอีก" ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าวทิ้งท้าย

โครงการ อนุรักษ์หาดทรายให้ขาวสะอาด

1.ชื่อแผนงาน/โครงการอนุรักษ์หาดทรายให้ขาวสะอาด
- สถานที่ดำเนินการหาดปึกเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
- หน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/10จำนวน18คน
2. หลักการและเหตุผล

สภาพปัญหาของหาดทรายที่สกปรกเต็มไปด้วยขยะที่เกลือนกาดและทำให้หาดทรายมีจำนวนคนนักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวนั้นลดลงไม่มีรายได้เข้าไปปรับปรุงสถานที่ พวกเราจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเราจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหาดทรายปึกเตียนให้กลับมาน่าท่องเที่ยวเช่นเดิม
3. วัตถุประสงค์โครงการ

อยากให้หาดปึกเตียนมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและจะได้เป็นแหล่งดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทำให้ประเทศของเรามีรายได้ในด้านต่างๆเช่นด้านเศรษฐกิจ ด้านคมนาคมเป็นต้นการที่เศรษฐกิจของเราพัฒนาก็จะส่งผลดีให้แก่พวกเรา
4. เป้าหมายโครงการ

( - ) สาเหตุของปัญหา หาดทรายสกปรกเต็มไปด้วยขยะไม่น่าไปท่องเที่ยวหรืออยู่อาศัย เป้าหมาย (+ )ต้องการพัฒนาให้หาดทรายนั้นดีขึ้นมากกว่าเดิมเช่นด้านการท่องเที่ยวเป็นต้น
5. วิธีดำเนินการ
1.จัดตั้งโครงการ
2.หาผู้เข้าร่วมโครงการ
3.ทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมโครงการ
4.ติดต่อสถานที่
5.กำหนดเวลา
6.ร่างโครงการส่งผู้อนุมัติ
7.ดำเนินโครงการ
8.สรุปโครงการส่งอาจารย์ วันที่6สิงหาคมพ.ศ.2554 เป็นเวลา1วัน
7. ทรัพยากรที่ใช้
7.1 ค่าอาหารคนละ50บาท
7.2 ค่ารถไม่เสียค่าใช้จ่าย
7.3 จำนวนคนที่ร่วมโครงการ18คน
8. สถานที่ดำเนินการ

หาดปึกเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
9. ผู้รับผิดชอบ

นางสาวจุฑารัตน์ อิ่มเจริญ ผู้เขียนโครงการ และสมาชิกอีก18คน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลข้างเคียง
10.1 ทางบวกจะได้มีคนไปเที่ยวทะเลเพิ่มมากขึ้นทำรายได้ให้กับหาดปึกเตียนสูงขึ้นด้วย
10.2 ทางลบ เกิดการไม่สามัคคีกันในหมู่คณะ
11. การควบคุม/ติดตาม/ประเมินผล(ตัวชี้วัด)


ติดตามดูจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวหาดปึกเตียนว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหรือไม่
12. ผู้เสนอโครงการ นางสาวจุฑารัตน์ อิ่มเจริญ


สรุปโครงการที่ทำ รู้ถึงความสามัคคีในหมู่คณะและโครงการที่ทำมีภาพและวีดีโอมาให้ดูกันสื่อถึงความสามัคคีของพวกเราชาวห้อง10







ดูกันเพลิน ส่วนนี้รูปก็สมาชิกในกลุ่ม





เก็บกันสนกๆๆๆ






ดำกันหมด
กะว่าจะไม่มองมองจนได้

อันนี้คนละกลุ่ม




นี้ก็รูปร่วมค่ะ


จะถ่ายสักหน่อยไรติดก็ไม่รู้





ดำๆๆๆๆๆ




ผู้เข้าร่วมโครงการ